ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557  (อ่าน 1034 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88303
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  30  กันยายน  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ทุกภาคของประเทศมีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจายและมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่   ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา   เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยางในบางพื้นที่
 
2. การใช้ยาง
 
- มาเลเซียจะเพิ่มความร่วมมือกับจีนในด้านงานวิจัยและเทคโนโลยียาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การขยายตลาดผลิตภัณฑ์ยาง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการเพาะปลูกและสินค้าโภคภัณฑ์ของ มาเลเซียกล่าวว่า   ประเทศจีนได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างมาก อาทิ การก่อสร้างสะพาน ทางหลวง   ทางรถไฟ และสถานีขนส่ง ซึ่งชิ้นส่วนยาง เช่น แบริ่งยางที่มีความสำคัญนั้นผลิตจากยางธรรมชาติคุณภาพสูง และมาเลเซียประสบความสำเร็จในการส่งออกยางแบริ่งยางรองรางรถไฟ
 
3. สต๊อคยาง
 
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 26 กันยายน   2557 ลดลง 2,192 ตัน หรือลดลงร้อยละ 1.33 อยู่ที่ 162,649 ตัน จากระดับ 164,841 ตัน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2557
- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 20   กันยายน 2557 ลดลง 684 ตัน หรือลดลงร้อยละ 5.23 อยู่ที่ 12,365 ตัน จากระดับ 13,049 ตัน เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2557
 
4. เศรษฐกิจโลก
 
- คณะกรรมาธิการยุโรปเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและผู้บริโภคยูโรโซนเดือนกันยายนปรับตัวลดลงแตะ 99.9   จุด จาก 100.6 จุดในเดือนสิงหาคม นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน สอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
- สำนักข่าวรอยเตอร์และมหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ช่วงปลายเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นแตะ 84.6 จุด   จาก 82.5 จุดในเดือนสิงหาคม ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคสหรัฐฯ ยังมีมุมมองเป็นบวกเกี่ยวกับอนาคตของเศรษฐกิจประเทศ
- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกันยายนอยู่ที่ 86.0 จุด ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนสิงหาคม แต่ยังคงต่ำมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาวที่   100 จุด
- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า   ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของต้นทุนพลังงาน โดยดัชนี CPI ปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน แต่ต่ำกว่าร้อยละ 3.3 ในเดือนกรกฎาคม
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเมื่อเดือนสิงหาคมและกรกฎาคม อัตราเงินเฟ้อของเยอรมันที่ยังอยู่ในระดับต่ำมากในเดือนกันยายนได้สร้างแรง กดดันต่อธนาคารกลางยุโรป   (ECB) ในการเริ่มดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจยูโรโซนอ่อนแรงลง ต่อไปอีก
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ   เปิดเผยว่า การบริโภคส่วนบุคคลเดือนสิงหาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ส่งสัญญาณว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่แข็งแกร่งขึ้นอาจช่วยหนุนการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ   ในช่วงไตรมาส 3
 
5. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.37 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.02   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 109.37 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น   0.06 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
6. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดตลาดที่ 94.57 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล   เพิ่มขึ้น 1.03 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือน สิงหาคม ช่วยให้นักลงทุนมีมุมมองเป็นบวกมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและอุปสงค์ พลังงานในสหรัฐฯ   ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ที่ตลาดลอนดอน ปิดที่ 97.20 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.20 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
7. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนตุลาคม 2557 อยู่ที่ 172.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อยู่ที่ 184.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.2 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 153.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ลดลง 2.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
8. ข่าว
 
- สำนักงานความเชื่อมั่นเชิงพาณิชย์สิงคโปร์เปิดเผยว่า ความไม่แน่นอนทางภูมิศาสตร์การเมืองที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกเกือบหยุดชะงัก และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางธุรกิจในสิงคโปร์ศซึ่งฉุดดัชนีทางธุรกิจ ไตรมาส   4 ลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 12 เดือน
- ธนาคารกลางจีนอนุมัติให้มีการซื้อขายและแลกเปลี่ยนระหว่างเงินหยวนและเงินยู โรโซนโดยตรงในตลาดอินเตอร์แบงค์เป็นครั้งแรก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการแปลงสกุลเงิน รวมทั้งช่วยส่งเสริมการใช้เงินหยวนและยูโรในการค้าและการลงทุนระดับทวิภาคี
- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ   (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านหรือปิดการขายของสหรัฐฯ   เดือนสิงหาคมหดตัวลงร้อยละ 1.0 จากเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 104.7 จุด โดยปรับตัวลงมากกว่าที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.5 แสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ ยังไม่ีมีความต่อเนื่อง
- มีรายงานว่า เหตุการณ์ประท้วงรุนแรงในฮ่องกงอาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจีน โดยกลุ่มประท้วงมีเป้าหมายที่จะทำให้ศูนย์กลางทางการเงินของฮ่องกงตกอยู่ใน ภาวะชะงักงัน เพื่อตอบโต้แผนการของจีนที่ต้องการควบคุมการเสนอชื่อบุคคลที่ลงสมัคร
 รับเลือกตั้งดำรงตำแหน่งประธานบริหารเขตปกครองพิเศษฮ่องกง

 
9.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย   เพราะปริมาณยางออกสู่ตลาดน้อยมาก ขณะที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าราคาไม่น่าจะลดลงมากแล้ว ทำให้มีการซื้อเกินราคาอยู่มากเมื่อเทียบกับราคาตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม ต้องรอดูสภาพอากาศว่าจะมีฝนตกมากหรือไม่ในช่วงที่เหลือของปีนี้
 
   แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น เงินบาทอ่อนค่า และปริมาณอุปทานยางออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย ขณะที่สต๊อคยางจีน (26 กันยายน 2557) ลดลงแตะ 162,649 ตัน เช่นเดียวกับสต๊อคยาง ณ ท่าเรือชิงเต่า (1 กันยายน 2557) ลดลงเหลือ 217,400 ตัน ส่วนปัจจัยลบมาจากโดยภาพรวมเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า และนักลงทุนวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ประท้วงที่รุนแรงในฮ่องกง อาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจีน ประกอบกับในระยะนี้ยังไม่มีปัจจัยบวกเข้ามาหนุนราคาที่ชัดเจน
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]