ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่? 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 1054 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันศุกร์ที่  31  ตุลาคม  พ.ศ. 2557


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ลมมรสุมตะวันออกพัดปกคลุมภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกเป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่น (JAMA) เปิดเผยว่า ยอดผลิตรถยนต์ญี่ปุนเดือนกันยายนปรับตัวลดลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบรายปี อยู่ที่ 851,051 คัน เนื่องจากความต้องการภายในประเทศชะลอตัวลง หลังจากรัฐบาลประกาศขึ้นภาษีการบริโภค และจากการที่ยอดส่งออกรถยนต์ลดลงในเดือนดังกล่าว


3. เศรษฐกิจโลก


- สำนักงานสถิติแห่งชาติยูเครนรายงานว่า เศรษฐกิจยูเครนหดตัวลงร้อยละ 5.1 ในไตรมาส 3 ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 5 ปี


- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อรายปีเดือนตุลาคมชะลอตัวลงแตะร้อยละ 0.7 เทียบกับเดือนกันยายนที่ร้อยละ 0.8 นับเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ตอกย้ำว่ายูโรโซนยังคงเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อในระดับต่ำเกินไป และเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะเงินฝืด


- คณะกรรมาธิการยุโรป (EC.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจภาคธุรกิจและผู้บริโภคยูโรโซนเดือนตุลาคม ปรับตัวขึ้นแตะที่ 100.7 จุด จาก 99.9 จุดในเดือนกันยายน นับเป็นสัญญาณล่าสุดว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคอาจหลีกเลี่ยงจากการหดตัว กลับเข้าสู่ภาวะถดถอยได้


- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยวา อัตราการลงทุนในภาคธุรกิจยูโรโซนประจำไตรมาส 2 อยู่ที่ร้อยละ 21.6 ไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อน


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ขยายตัวร้อยละ 3.5 ซึ่งออกมาดีกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 หลังจากที่ไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 4.6 และไตรมาสแรกหดตัวร้อยละ 2.1


- สถาบันวิจัยเศรษฐกิจเยอรมันคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจเยอรมันจะขยายตัวเล็กน้อยในไตรมาส 3 แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจจะสามารถรักษาช่วงขาขึ้นไว้ได้ในไตรมาส 4 โดยรายงานระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะขยายตัวร้อยละ 0.1 ในไตรมาส 3


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.50 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 109.26 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.23 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดตลาดที่ 81.12 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.08 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น และสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ที่แล้ว


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดที่ 86.24 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.88 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2557 อยู่ที่ 193.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ 200.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.2 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 171.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- สำนักงานแรงงานเยอรมันเปิดเผยว่า อัตราว่างงานเดือนตุลาคมลดลงถึง 22,000 ราย อยู่ที่ 2.887 ล้านราย นับเป็นตัวเลขที่ลดลงมากที่สุดในรอบ 6 เดือน สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าอัตราว่างงานจะเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ที่ไม่มีงานที่ผ่านการทบทวนแล้วทรงตัวที่ร้อยละ 6.7


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 25 ตุลาคม 2557 ปรับตัวขึ้น 3,000 ราย อยู่ที่ 287,000 ราย แม้จะปรับตัวขึ้นแต่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานก็ยังอยู่ใกล้ระดับต่ำสุด ชี้ให้เห็นว่าตลาดแรงงานยังคงฟื้นตัวดี


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางน่าจะทรงตัวและมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น เพราะผู้ประกอบการยังมีความต้องการซื้อเพื่อปิดสัญญาส่งมอบ ขณะที่ผลผลิตยังคงมีค่อนข้างน้อย


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกด้านอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย และโครงการช่วยเหลือเรื่องยางพาราตามแนวทางพัฒนายางทั้งระบบของรัฐบาลไทย ประกอบกับนักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังมีรายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ขยายตัวดีเกินคาดที่ร้อยละ 3.5 ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันและราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าโตเกียวปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนเทขายเพื่อเก็งกำไร หลังจากราคาปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน




สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา








ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 31, 2014, 01:05:41 PM โดย Rakayang.Com »