ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557  (อ่าน 1335 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันจันทร์ที่  10  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมทะเลอันดามัน ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนเกือบทั่วไปร้อยละ 70 ของพื้นที่ และตกหนักบางแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- เว็ปไซต์ข่าวสารด้านธุรกิจนิกเกอิ เอเชียน รีวิวของญี่ปุ่น รายงานว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในปีนี้ของ 6 ประเทศชั้นนำในภูมิภาคอาเชียน ปรับลดลงถึงร้อยละ 11.0 โดยมียอดจำหน่ายในเดือนกันยายน เพียง 262,681 ตันเท่านั้น ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 17 โดยเฉพาะ 3 ตลาดใหญ่ของภูมิภาคไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย สวนทางกับฟิลิปปินส์ เวียดนาม และสิงคโปร์ ที่ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างมาก


3. สต๊อกยาง


- สต๊อกยางจีน ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 มีจำนวน 174,833 ตัน เพิ่มขึ้น 1,041 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.60 จาก 173,792 ตัน ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2557


- สต๊อกยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2557 ลดลง 1,087 ล้านตันหรือลดลงร้อยละ 10.74 แตะระดับ 9,034 ตัน จากระดับ 10,121 ตัน ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2557


4.เศรษฐกิจโลก


- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีนในเดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบรายปี


- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนี เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายน ขยายตัวร้อยละ 1.4 ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.0 โดยข้อมูลดังกล่าวอาจจะทำให้ตลาดวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจเยอรมนี ซึ่งมีขนาดใหญ่สุดในยุโรป


- ธนาคารกลางยูเครน เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของยูเครนลดลงร้อยละ 23.3 ในเดือนตุลาคม สู่ระดับ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 ปี


- สำนักงานศุลากรจีน (GAC) เผยยอดส่งออกของจีนในเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบรายปี แตะที่ 2.0687 แสนล้านดอลลาร์  อย่างไรก็ตาม การส่งออกในเดือนตุลาคม ขยายตัวในอัตราที่ช้าลง เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 19 เดือนที่ร้อยละ 15.3 ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 แตะ 1.6146 แสนล้านดอลลาร์


5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.75 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.14 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐและเงินเยนอยู่ที่ 114.40 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.93 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เกาหลีใต้กำลังวิตกกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการอ่อนค่าลงของเงินเยน เนื่องจากกลุ่มผู้ส่งออกเกาหลีใต้มีแนวโน้มว่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเงินเยนที่อ่อนค่าลง ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ผันผวนทั้งในเกาหลีใต้และต่างประเทศ


6. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน ธันวาคม ปิดตลาดที่ 78.65 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.74 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขานรับข้อมูลตลาดแรงงานที่สดใสภายหลังอัตราว่างงานของสหรัฐฯ ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี สำหรับสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้น 0.53 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 83.39 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล


7. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม 2557 อยู่ที่ 192.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน  2558 อยู่ที่ 200.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 164.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


8. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เผยยอดจ้างงานนอกภาคเกษตรกรของสหรัฐฯ ในเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้น 214,000 ราย ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ส่วนอัตราว่างงานในเดือนตุลาคม ลดลงร้อยละ 0.1 จากระดับเดือนกันยายน มาอยู่ที่ร้อยละ 5.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี โดยสถิติล่าสุดบ่งชี้ว่าบริษัทต่าง ๆ มีมุมมองที่เป็นบวก ว่าเศรษฐกิจจะสามารถรับมือกับการชะลอตัวลงของตลาดเกิดใหม่และตลาดยุโรป


9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นได้ เพราะปริมาณวัตถุดิบมีน้อย และฝนตกหลายพื้นที่  กรีดยางได้น้อยมาก ผู้ประกอบการยังมีความต้องการซื้อเพื่อเพิ่มสต๊อกยาง




แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เพราะได้รับแรงหนุนจากอุปทานยางยังคงออกสู่ตลาดน้อยจากภาวะฝนตกหนักทางภาคใต้ของไทย ประกอบกับนักลงทุนขานรับอัตราว่างงานเดือนตุลาคม ของสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี และอัตราเงินเฟ้อจีนปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งนโยบายการแก้ไขปัญหาราคายางของภาครัฐฯ  อย่างไรก็ตามราคายางยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบจำกัด เพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการแข็งค่าของเงินเยน และโดยภาพรวมอุปสงค์ยางพารายังคงอ่อนแอ








ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา