ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557  (อ่าน 1106 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันศุกร์ที่  14  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่ปกคลุมภาคใต้ยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส


2. การใช้ยาง


- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในวันที่ 20-21 พฤศจิกายน นี้ จะเดินทางไปประชุมกลุ่มประเทศผู้ปลูกยางพารา ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อหารือในข้อตกลงร่วมกัน  ทั้งการบังคับใช้กฎกติกาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  มาตรการการจัดผลผลิตของทั้ง 3 ประเทศในภาพรวม เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในตลาดโลก เนื่องจากปัจจุบันมีประเทศเวียดนาม พม่า และกัมภูชา เป็นผู้ผลิตเพิ่ม ทำให้ควบคุมปริมาณการผลิตได้ยาก  ดังนั้นวาระสำคัญคือการหารือในเรื่องการบริหารผลผลิตของแต่ละประเทศให้เหมาะสม


3.เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เปิดเผยว่าภาคอุตสาหกรรมในเดือนกันยายนปรับตัวขึ้นร้อยละ 2.9 จากเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นการปรับทบทวนขึ้นจากรายงานเบื้องต้นที่ร้อยละ 2.7


- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนี ซึ่งคำนวณตามมาตรฐานยุโรป ยังคงอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.7 เทียบรายปีในเดือนตุลาคม ซึ่งทรงตัวจากข้อมูลเงินเฟ้อเบื้องต้น แต่ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบเป็นรายเดือนสำหรับเงินเฟ้อรายปีที่คำนวณตามมาตรฐานเยอรมนีอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ในเดือนตุลาคม


- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า


ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอตัวลงจากร้อยละ 8.0 ในเดือนกันยายน ส่วนในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ อัตราการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมของจีนลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งลดลงร้อยละ 0.1 จากช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้
ยอดค้าปลีกของจีนในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ปรับตัวขึ้นร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบรายปีสู่ระดับ 21.31 ล้านล้านหยวน ส่วนยอดค้าปลีกในเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 11.5 เทียบรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากอัตราร้อยละ 11.6 ในเดือนกันยายนและนับเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันที่ยอดค้าปลีกมีการขยายตัวช้าลง
การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเดือนมกราคม ? ตุลาคม 2557 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แตะที่ระดับ 40.62 ล้านล้านหยวน โดยอัตราการขยายตัวดังกล่าวชะลอตัวลงจากระดับการขยายตัวที่ร้อยละ 16.1 ในช่วงเดือนมกราคม ? กันยายน และยังชะลอตัวลงจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2556 ที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งถึงร้อยละ 20.1
- รัฐบาลญี่ปุ่นและสองพรรคร่วมรัฐบาล ได้มีการหารือกันเมื่อวานนี้ในประเด็นเกี่ยวกับการชะลอแผนปรับขึ้นภาษี โดยมีแนวโน้มจะเลื่อนระยะเวลาในการปรับขึ้นภาษีออกไปอีก 1 ปีครึ่ง เป็นเดือนเมษายน 2560 โดยคาดว่านายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายในวันจันทร์นี้ และคาดว่าจะประกาศยุบสภาเพื่อเลือกตั้งทั่วไปในเดือนธันวาคม


- ธนาคารกลางอังกฤษปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในปี 2558 ลงเหลือร้อยละ 2.9 จากระดับร้อยละ 3.1 โดยรายงานระบุว่าอุปสงค์ภายในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.82 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐและเงินเยนอยู่ที่ 115.81 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.18 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน ธันวาคม ปิดตลาดที่ 74.21 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 2.97 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิง ซึ่งเป็นจุดส่งมอบสัญญาน้ำมันดิบ WIT ปรับตัวเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนธันวาคม ลดลง 2.46 ดอลลาร์ ปิดที่ 77.92 ดอลลาร์


- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ในรอบสัปดาห์สิ้นสุด วันที่ 7 พฤศจิกายน ปรับตัวลดลงสวนทางกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยสต๊อกน้ำมันดิบลดลง 1.7 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 300,000 ? 1,000,000 บาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม 2557 อยู่ที่ 196.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ 205.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.7 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 168.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- สำนักงานสถิติจีน เปิดเผยว่าการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเดือนมกราคม ? ตุลาคม 2557 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนแตะ 4064 ล้านล้านหยวน  อย่างไรก็ตามอัตราการขยายตัวดังกล่าวชะลอตัวลงจากระดับการขยายตัวที่ร้อยละ 16.1 ในช่วงมกราคม ? กันยายน และยังชะลอตัวลงจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2556 ที่ขยายตัวแข็งแกร่งถึงร้อยละ 20.1


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 8 พฤศจิกายน ปรับตัวขึ้น 12,000 ราย แตะ 290,000 ราย ซึ่งมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าจะมีผู้ 280,000 ราย


- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก กล่าวว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่สหรัฐฯ จะเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ย เมื่อพิจารณาจากการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูงเกินไป และอัตราเงินเฟ้อที่ยังต่ำเกินไป


8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางยังทรงตัวหรือปรับสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะยังมีฝนตกหนัก ผลผลิตมีน้อยมาก ผู้ประกอบการยังมีความต้องการซื้อ  อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการบางรายขาดสภาพคล่อง จึงซื้อในจำนวนไม่มาก ถ้าปริมาณยางมากในการประมูลแต่ละครั้งก็จะทำให้การแข่งขันลดลง


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ตามตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนอ่อนค่าและผลผลิตมีน้อยจากภาวะฝนตกต่อเนื่องทางภาคใต้ของไทย ประกอบกับปัจจัยทางจิตวิทยาในเชิงบวกจากนโยบายของภาครัฐฯ  ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลแรงงานที่ย่ำแย่ และเศรษฐกิจจีนยังส่งสัญญาณชะลอตัว ขณะที่นักลงทุนติดตามการประชุมของ 3 ประเทศ ผู้ผลิตยาง ไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย ในวันที่ 20 พฤศจิกายน นี้ เพื่อหามาตรการยกระดับราคายาง








ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา