ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 1257 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันศุกร์ที่  23  มกราคม  พ.ศ. 2558



ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยอ่อนกำลังลง ทำให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีเมฆบางส่วน โดยภาพรวมสภาพอากาศเอื้อต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- กระทรวงพาณิชย์จีนแถลงว่า จีนกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิด หลังสหรัฐฯ ตัดสินใจเรียกเก็บภาษีมากขึ้นต่อยางรถยนต์นำเข้าจากจีน ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ประกาศกำหนดอัตราภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด (AD) ต่อยางรถยนต์นำเข้าจากจีนในอัตราร้อยละ 87.99 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ร้อยละ 81.29 ซึ่งมีการเรียกเก็บในปีที่แล้ว


- บริษัทโตโยต้า มอร์เตอร์ คอร์ป เปิดเผยตัวเลขจำหน่ายยานพาหนะทั่วโลกปี 2557 อยู่ที่ 10.23 ล้านคัน มากกว่าโฟล์คสวาเกนที่มียอดจำหน่าย 10.14 ล้านคัน ขณะที่เจเนอรัล มอร์เตอร์ (GM) มียอดจำหน่าย 9.92 ล้านคัน ส่งผลให้โตโยต้ากลายเป็นบริษัทที่มียอดจำหน่ายรถยนต์มากที่สุดในโลกเป็นครั้งแรก


3. เศรษฐกิจโลก


- ธนาคารกลางยุโรป (ECB.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 0.05 ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินฝืดในยูโรโซน นอกจากนี้ยังได้ตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่ร้อยละ -0.20 และตรึงอัตราอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนที่ร้อยละ 0.30


- ผู้อำนวยการกองทุนระหว่างประเทศ (IMF.) คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจเริ่มประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปีนี้ หลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณการฟื้นตัว


- นายกรัฐมนตรีจีนได้กล่าวว่า เศรษฐกิจจีนจะไม่เผชิญกับภาวะชะลอตัวอย่างรวดเร็วและรุนแรง (Hard Landing)


- ธนาคารกลางยุโรป (ECB.) ประกาศซื้อพันธบัตร 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน จนถึงเดือนกันยายน 2559 โดยเริ่มต้นในเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวมีมูลค่าสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะใช้วงเงิน 5 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.60 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 118.49 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.72 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดตลาดที่ 46.31 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลกลง 1.47 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดที่ 48.52 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.51 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) รายงานสต๊อคน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 มกราคม 2558 เพิ่มขึ้น 10.1 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 397.7 ล้านบาร์เรล สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 193.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 198.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.8 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 166.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 17 มกราคม 2558 ลดลง 10,000 ราย แตะ 307,000 ราย ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 300,000 ราย


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะผู้ประกอบการกล่าวว่าอีกประมาณ 1 เดือน ผลผลิตยางจะลดลงในฤดูยางผลัดใบ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องเร่งซื้อเพื่อส่งมอบ อย่างไรก็ตาม ราคาไม่สูงมากเพราะผู้ซื้อจะไม่ซื้อหากราคาสูงเกินไป โดยผู้ซื้อจะมีทางเลือกมาก พอใจซื้อก็จะซื้อ ถ้าไม่พอใจก็จะไม่ซื้อ


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยปัจจัยบวกมาจากข่าวธนาคารกลางยุโรป (ECB.) ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ครั้งใหญ่ และธนาคารกลางจีนอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับมาตรการผลักดันราคายางของภาครัฐ และผู้ประกอบการบางรายอาจเร่งซื้อเพื่อส่งมอบก่อนที่อุปทานยางจะลดลงในช่วงฤดูยางผลัดใบ ขณะที่ปัจจัยลบมาจากราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 26, 2015, 12:35:18 PM โดย Rakayang.Com »