ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 1326 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันอังคารที่  27  มกราคม  พ.ศ. 2558


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยภาคใต้มีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีเมฆบางส่วนและมีฝนตกบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- รัฐบาลอินเดียกำลังผลักดันให้เกษตรกรชาวสวนยางปลูกยางในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมากขึ้น ปัจจุบันอินเดียมีการนำเข้ายางธรรมชาติเพิ่มขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ รัฐบาลจึงพยายามผลักดันให้มีการปลูกยางมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


3. เศรษฐกิจโลก


- ธนาคารยู บี เอส คาดการณ์ว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 6.8 โดยประเมินว่าการเดินหน้าสนับสนุนด้านนโยบายและการส่งออกที่ฟื้นตัวจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซา


- สถาบัน Ifo เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเยอรมันปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 106.7 ในเดือนมกราคม จาก 105.5 ในเดือนธันวาคม เป็นการปรับตัวขึ้นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน


- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือนธันวาคมอยู่ที่ 6.607 แสนล้านเยน เป็นการขาดดุลการค้าเดือนที่ 30 ติดต่อกัน และทำสถิติขาดดุลเป็นเวลานานที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการจัดเก็บข้อมูลในเดือนมกราคม 2522


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.58 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 118.43 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.69 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดตลาดที่ 45.15 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.44 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากเลขาธิการกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ระบุว่า ตลาดน้ำมันโลกกำลังอยู่ในภาวะมีอุปทานมากเกินไป


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดที่ 48.16 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.63 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


- รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 5 ในกลุ่มโอเปค ระบุว่าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะเดินหน้าสร้างและพัฒนาโรงงานน้ำมันต่อไป โดยไม่คำนึกว่าราคาน้ำมันปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง


- เลขาธิการกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ระดับ 45 - 50 ดอลล่าร์สหรัฐในปัจจุบันอาจแตะระดับต่ำสุดแล้ว และอาจปรับตัวขึ้นในเร็ว ๆ นี้ พร้อมนี้ได้กล่าวเตือนว่าราคาน้ำมันมีความเสี่ยงที่จะพุ่งขึ้นสู่ระดับ 200 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ถ้าหากมีการลงทุนขุดเจาะแหล่งน้ำมันใหม่ต่ำเกินไป


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 195.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 200.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.9 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 166.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- หัวหน้าพรรคไซรีซา ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านของกรีซให้คำมั่นสัญญาว่าจะกอบกู้ศักดิ์ศรีของกรีซกลับคืนมา พร้อมกล่าวว่ายุคสมัยที่กรีซจะต้องก้มหัวให้กับกลุ่มเจ้าหนี้ต่างประเทศนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว


- นักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์ ออกรายงานเกี่ยวกับราคาทองคำ โดยคาดว่าราคาทองคำจะปรับตัวลดลงราวร้อยละ 5.0 ในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ จากอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่เพิ่มสูงขึ้น ภาวะเงินฝืดและการอ่อนค่าของสกุลเงินต่าง ๆ เมื่อเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ ทั้งนี้ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ราคาทองคำปีหน้าลงร้อยละ 9.0 อยู่ที่ 1,089 ดอลล่าร์สหรัฐต่อออนซ์ และปี 2560 อยู่ที่ 1,050 ดอลล่าร์สหรัฐต่อออนซ์


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดต่างประเทศ และผู้ประกอบการบางรายมีความต้องการซื้อเพื่อส่งมอบก่อนที่ปริมาณผลผลิตยางจะลดลง เพราะอีกไม่เกิน 1 เดือนก็จะเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เพราะได้รับแรงหนุนจากเงินเยนอ่อนค่า และนักลงทุนขานรับมาตรการอัดฉีดเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB.) ประกอบกับผู้ประกอบการเร่งซื้อก่อนที่ผลผลิตจะลดลงในช่วงฤดูยางผลัดใบ อย่างไรก็ตาม ราคายางยังคงปรับตัวสูงขึ้นในกรอบจำกัด เพราะนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะไร้เสถียรภาพในยูโรโซน และสต๊อคยาง ณ ตลาดเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นแตะระดับ 164,606 ตัน (วันที่ 23 มกราคม 2558) จากระดับ 160,297 ตัน (วันที่ 16 มกราคม 2558)


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา