ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 1025 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันศุกร์ที่  30  มกราคม  พ.ศ. 2558


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นลงเล็กน้อย ขณะที่ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่ปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นบางแห่ง และมีอากาศเย็นในตอนเช้า ซึ่งไม่เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเก็บภาษีนำเข้ายางล้อจากจีนเพิ่มขึ้นในคำตัดสินเบื้องต้นเมื่อวันพุธที่ 21 มกราคม ที่ผ่านมา โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้กำหนดอัตราภาษีนำเข้ายางล้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถบรรทุกเล็กจากจีนสูงถึงร้อยละ 87.99 เป็นการตอบโต้การทุ่มตลาดยางล้อของจีน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้กำหนดอัตราภาษีนำเข้าตอบโต้การอุดหนุนจากรัฐบาลได้ถึงร้อยละ 81.29 อยู่แล้ว หลังจากที่สภาพแรงงานสหรัฐฯ ได้ยื่นร้องเรียนมา ซึ่งจะกระทบต่อยางล้อที่นำเข้าจากกลุ่มบริษัทหลายกลุ่มของจีน


3.เศรษฐกิจโลก


- ราคาน้ำมันที่กำลังตกต่ำส่งผลให้คณะรัฐมนตรีอิรักต้องแก้ไขงบประมาณปี 2015 และปรับลดประมาณการราคาน้ำมันลงจาก 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เหลือ 55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยแม้จะปรับลดงบประมาณประจำปี 2015 เหลือ 199 ล้านล้านดีนาร์อิรัก (ราว 105,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) แต่ตัวเลขขาดดุลงบประมาณก็ยังเพิ่มขึ้น 25 ล้านล้านดีนาร์


- สถาบัน ISO ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ความคาดหวังด้านส่งออกสำหรับภาคการผลิตของเยอรมนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยความคาดหวังในเดือนมกราคม เพิ่มขึ้น แตะ 9.5 จาก 7.7 เมื่อเดือนธันวาคม


- รัฐบาลเยอรมนี ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปี 2558 สูงขึ้นสู่ระดับร้อยละ 1.5 จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนตุลาคม ปีที่แล้ว ที่ระดับร้อยละ 1.3 พร้อมกับคาดการณ์ว่าตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภค จะเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจเยอรมนี
ให้ฟื้นตัวขึ้นเป็นวงกว้าง


- กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม ขยายตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนดัชนีการขนส่งในภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.1 ขณะที่ดัชนีสต๊อคสินค้าคงคลังปรับตัวลงร้อยละ 0.4


- กระทรวงกิจการภายในและสื่อสารญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (GDP) ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ในเดือนธันวาคม จากปีก่อนหน้านี้ ซึ่งปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 19 ติดต่อกัน ส่วนดัชนีตลอดทั้งปี 2557 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 2 ปี


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.74 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.13 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 118.08 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.41 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดตลาดที่ 44.53 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.08 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล  เนื่องจากตลาดขานรับข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ  อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันปรับขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาดหลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยว่าสต๊อคน้ำมันประจำสัปดาห์เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์


- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนมีนาคม ที่ตลาดลอนดอลเพิ่มขึ้น 0.66 ดอลลาร์ ปิดที่ 49.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล


- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจรัสเซีย ระบุว่ากระทรวงจะอิงราคาน้ำมันที่ระดับ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สำหรับการวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจมหภาคในปีนี้ ซึ่งเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของระดับ 100 ดอลลาร์ที่คาดการณ์ไว้เมื่อปีที่แล้ว สำหรับการวางแผนพัฒนาในปีนี้


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อยู่ที่ 194.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.6เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ 201.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.2 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 169.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 24 มกราคม ลดลง 43,000 ราย แตะ 265,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2543 หรือในรอบ 15 ปี


- สำนักงานสถิติเยอรมนี รายงานว่า อัตราว่างงานลดลงสู่ระดับร้อยละ 6.5 ในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่การรวมชาติระหว่างเยอรมนีตะวันออกและตะวันตก เมื่อปี 1990 หรือเกือบ 25 ปี ซึ่งบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีได้รับผลประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง รวมทั้งอานิสงส์จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางยุโรป (ECB)


- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่าดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายปรับตัวลดลงร้อยละ 3.7 อยู่ที่ระดับ 100.7 ในเดือนธันวาคม เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน ซึ่งอยู่ที่ระดับ 104.6 สวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5


8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางปรับตัวขึ้นได้เล็กน้อย เพราะคาดว่าผลผลิตยางจะลดลงในอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังจากนี้ ขณะที่ผู้ประกอบการหลายรายยังคงต้องการซื้อเพื่อส่งมอบ อย่างไรก็ตามยังคงขายออกยาก และผู้ซื้อยังคงซื้อในราคาค่อนข้างต่ำ


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา