ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558  (อ่าน 876 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันจันทร์ที่  2  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส และมีลมแรง ส่วนภาคใต้มีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีเมฆบางส่วน และมีฝนตกบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดการผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นปี 2557 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เนื่องจากความต้องการที่แข็งแกร่งของรถยนต์ขนาดเล็ก และการที่ประชาชนเร่งซื้อรถยนต์ในช่วงที่รัฐบาลจะปรับขึ้นภาษีการบริโภคเมื่อเดือนเมษายน


3. สต๊อคยาง


- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 30 มกราคม 2558 เพิ่มขึ้น 75 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.05 อยู่ที่ 164,681 ตัน จากระดับ 164,606 ตัน เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2558


- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 20 มกราคม 2558 ลดลง 287 ตัน หรือลดลงร้อยละ 2.53 อยู่ที่ 11,049 ตัน จากระดับ 11,336 ตัน เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2558)


4. เศรษฐกิจโลก


- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซนเดือนมกราคมลดลงถึงร้อยละ 0.63 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มากกว่าที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือนธันวาคม 2557 ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่ภูมิภาคยูโรโซนจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืด


- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันรายงานว่า อัตราเงินเฟ้อเบื้องต้นเดือนมกราคมปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบเป็นรายปี ทำสถิติปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 5 ปี และปรับลดลงมากกว่าที่คาดว่าจะขยับลงเพียงร้อยละ 0.2


- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) และสถาบันพลาธิการและการจัดซื้อจีน เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมกราคมลดลงสู่ระดับ 53.7 จาก 54.1 ในเดือนธันวาคม และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี พร้อมเผยดัชนีภาคการผลิตเดือนมกราคมลดลงสู่ระดับ 49.8 จาก 50.1 ในเดือนธันวาคม ถือว่าเป็นการหดตัวลงครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี


- ผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์และมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ขั้นสุดท้ายของเดือนมกราคมลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 98.1 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ 98.2 แต่ยังสูงกว่าระดับ 93.6 ของเดือนธันวาคม และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 โดยได้รับแรงหนุนจากแนวโน้มการจ้างงานและค่าแรงที่ดีขึ้น


- ผลสำรวจของสำนักวิจัยภาคเอกชนระบุว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีการขยายตัวร้อยละ 3.6 ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ซึ่งปรับตัวขึ้นจากการหดตัวลงร้อยละ 1.9 ในไตรมาส 3


- สหรัฐฯ เผยตัวเลขประมาณการครั้งแรกสำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4 ปี 2557 โดยระบุว่ามีการขยายตัวร้อยละ 2.6 หลังจากที่เติบโตร้อยละ 4.6 และร้อยละ 5.0 ในไตรมาส 2 และ 3 ตามลำดับ น้อยกว่าที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 3.2 ในไตรมาส 4 และเมื่อพิจารณาทั้งปี 2557 เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการขยายตัวร้อยละ 2.4 ดีกว่าระดับเฉลี่ยร้อยละ 2.2 ในช่วงปี 2553 - 2556 เล็กน้อย ขณะที่ในทศวรรษ 2553 เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 3.4 ต่อปี


- มอร์แกนสแตนเลย์ ออกรายงานปรับเพิ่มคาดการณ์ผลประกอบการสำหรับบริษัทจดทะเบียนยุโรปเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี โดยมองว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคจะปรับตัวดีขึ้นในปีนี้ หลังจากที่มีการขยายตัวที่น่าผิดหวังเป็นเวลา 4 ปี โดยเชื่อว่ายุโรปกำลังใกล้เข้าสู่วงจรการปรับตัวขึ้น


- ธนาคารกลางรัสเซียรายงานคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะปรับตัวลงร้อยละ 3.2 ในครึ่งปีแรก หลังจากที่มีการขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 ในปี 2557


5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.66 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.08 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 117.41 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.67 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


6. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดตลาดที่ 48.24 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 3.71 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังมีรายงานว่าจำนวนแท่นขุดเจาะในสหรัฐฯ ลดลง ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าอาจเป็นผลจากการลดลงของราคาน้ำมันในระยะนี้


- มีรายงานว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ลดลงร้อยละ 7.0 แตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่าจำนวนแท่นขุดเจาะที่ลดลงเป็นสัญญาณว่าการร่วงลงของราคาน้ำมันจะส่งผลต่อการผลิตน้ำมันในอนาคต


7. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคม อยู่ที่ 196.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 197.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 169.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


8. ข่าว


- ประธานด้านนโยบายต่างประเทศแห่งสหภาพยุโรป (EU.) เปิดเผยว่า รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศในกลุ่ม EU. ตัดสินใจขยายขอบเขตการคว่ำบาตรแบบเจาะจงต่อรัสเซียไปอีก 6 เดือน จนถึงเดือนกันยายนปีนี้


- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า อัตราว่างานของญี่ปุ่นฟื้นตัวขึ้นแตะที่ระดับร้อยละ 3.4 ในเดือนธันวาคม จากร้อยละ 3.5 ในเดือนพฤศจิกายน


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีค่าใช้จ่ายด้านแรงงานสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 ในไตรมาส 4 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี บ่งชี้ว่าภาวะเงินเฟ้อโดยรวมจะยังคงอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีท่าทีรอคอยให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป


9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากความกังวลว่าผลผลิตจะลดลง เนื่องจากใกล้ฤดูยางผลัดใบ ต้นยางให้ผลผลิตน้อยลง อย่างไรก็ตาม ราคายางจะไม่ปรับตัวสูงขึ้นมาก เพราะผู้ซื้อมีแหล่งซื้อมากจึงไม่เร่งซื้อ


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมันดิบ ประกอบกับใกล้เข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ ผลผลิตยางเริ่มออกสู่ตลาดน้อยลง และนโยบายแก้ไขปัญหาราคายางของภาครัฐ น่าจะเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงซบเซา ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ยางโดยภาพรวม






ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 02, 2015, 01:06:09 PM โดย Rakayang.Com »