ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558  (อ่าน 956 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันพฤหัสบดีที่  12  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558



ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีก 1 - 2 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้มีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีเมฆบางส่วน และมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ขณะที่ต้นยางให้ผลผลิตลดลงประมาณร้อยละ 20 - 30 เพราะหลายพื้นที่เข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ


2. การใช้ยาง


- Techsci Research คาดการณ์ว่าตลาดยางล้อประเทศจีนปี 2558 - 2563 จะมีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 11.1 และคาดว่าตลาดยางล้อในจีนจะมีการเติบโตสูงมาก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของยอดจำหน่ายรถยนต์ การผลิตและการส่งออกยางล้อ


3. สต๊อคยาง


- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 31 มกราคม 2558 เพิ่มขึ้น 343 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.10 อยู่ที่ 11,392 ตัน จากระดับ 11,049 ตัน เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558


4. เศรษฐกิจโลก


- ธนาคารกลางจีนประกาศว่า ธนาคารทั่วประเทศได้รับอนุญาตให้ปล่อยสินเชื่อระยะสั้น (SLF) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสนับสนุนสภาพคล่องให้แก่สถาบันการเงิน เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องปริมาณการเงินในตลาด


- นักวิเคราะห์มองว่าตัวเลขเงินเฟ้อของจีนที่ขยายตัวน้อยกว่าที่คาด ทำให้เกิดกระแสคาดการณ์มากขึ้นว่าจีนอาจจะผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้น ขณะที่ตลาดเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยของจีนอยู่ในระดับสูงเกินไปเมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน


- หอการค้าเยอรมันเปิดเผยว่า ภาคธุรกิจเยอรมันมีความเชื่อมั่นสูงขึ้นในปีนี้ หลังจากราคาน้ำมันได้ปรับตัวลดลง ประกอบกับเงินยูโรอ่อนค่า โดยได้ปรับตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวประจำปี 2558 เป็นร้อยละ 1.3 จากเดิมที่ร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับคาดการณ์ของรัฐบาลเยอรมันที่ร้อยละ 1.5


- สหพันธ์อุตสาหกรรมเครื่องจักรจีน (CMIF) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมเครื่องจักรของจีนปี 2557 ยังมีการขยายตัว แต่เป็นอัตราที่ชะลอลงเนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่ซบเซา และสต๊อคสินค้าจำนวนมาก


- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาริชมอนด์ กล่าวว่า การประชุมนโยบายการเงินของเฟดเดือนมิถุนายนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย


- มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส เผยราคาน้ำมันที่อยู่ในช่วงขาลงจะไม่สามารถกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วง 2 ปีข้างหน้าได้ เนื่องจากสถานการณ์ที่ผันผวนในยูโรโซน จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย อย่างไรก็ดีประเทศที่จะได้อานิสงค์จากสถานการณ์ราคาคือ สหรัฐฯ และอินเดีย พร้อมนี้มูดี้ส์ยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ ในปี 2558 เป็นร้อยละ 3.2 จากเดิมที่ร้อยละ 3.0 ขณะเดียวกันมองว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะไม่เปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้วมากนัก โดยคาดว่า GDP จะขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 1.0 ในปี 2558 และขายตัวร้อยละ 1.3 ในปี 2559


5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.65 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 120.03 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.61 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


6. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดตลาดที่ 48.84 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.18 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันที่สูงเกินไป


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดที่ 54.66 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.77 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA.) รายงานสต๊อคน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 4.9 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 417.9 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมากกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 3.7 ล้านบาร์เรล


7. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคม อยู่ที่ 215.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 215.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.7 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 184.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


8. ข่าว


- ประธานยูโรโซนเปิดเผยว่า การประชุมเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินกรีซ ระหว่างยูโรโซนและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของกรีซยังไม่มีความคืบหน้า ซึ่งจะเจรจาอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558


9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางยังปรับตัวสูงขึ้น เพราะผลผลิตยางลดลงในช่วงฤดูยางผลัดใบ จึงมองว่าราคาจะไม่ปรับลดลงในระยะนี้ ประกอบกับผู้ประกอบการหลายรายมีความต้องการซื้อ เห็นได้จากเริ่มมีผู้เข้าร่วมประมูลยางในตลาดกลางเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม กรณีราคายางแท่งชั้น 20 อยู่ในระดับต่ำ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นตัวถ่วงให้ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ไม่สูงขึ้นมาก


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากราคาตลาดล่วงหน้าโตเกียวปรับตัวสูงขึ้นจากการอ่อนค่าของเงินเยน และอุปทานยางออกสู่ตลาดลดลงในช่วงฤดูยางผลัดใบ ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง และความวิตกกังวลหลังจากการเจรจาวิกฤตหนี้กรีซยังไม่มีความคืบหน้า รวมทั้งคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้






ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา