ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 907 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88303
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  8  เมษายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ- ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นและลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันและมีฝนตกบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง- กระทรวงการค้าอุตสาหกรรมและพลังงานของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ยอดส่งออกรถยนต์ของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์เกาหลีใต้เดือนมีนาคมปรับตัวลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบรายปี แตะ 277,874 คันในเดือนมีนาคม เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งได้บั่นทอนความต้องการรถยนต์
3. เศรษฐกิจโลก- ผลสำรวจของสำนักงานจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ (ISM) ระบุว่าดัชนีภาคบริการเดือนมีนาคมลดลงแตะ 56.5 จุด จาก 56.9 จุดในเดือนกุมภาพันธ์
- ธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 2.25 เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศยังคงขยายตัวในระดับต่ำกว่าแนวโน้มโดยเฉลี่ย
- ธนาคารกลางจีนอัดฉีดเม็ดเงินมูลค่า 2 หมื่นล้านหยวนเข้าสู่ตลาดการเงินผ่านข้อตกลงซื้อพันธบัตร โดยมีสัญญาขายคืนระยะ 7 วัน เพื่อรองรับความต้องการเงินสด
- ธนาคารกลางอินเดียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 7.5 ภายหลังจากได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อเดือนมีนาคม
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เริ่มการประชุมนโยบายการเงิน โดยมีแนวโน้มที่จะคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อไป แม้มีความเป็นไปได้ว่าราคาผู้บริโภคจะปรับตัวลงสู่แดนลบ
- รัฐบาลอิตาลียืนยันว่าอิตาลีจะสามารถหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้ และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวมากขึ้นในช่วง 2 ปีข้างหน้า โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะขยายตัวร้อยละ 0.7 ในปีนี้ สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 0.6 และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 1.4 และ 1.5 ในปี 2559 และ 2560
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยว่า ECB สามารถบรรลุเป้าหมายในการซื้อพันธบัตรวงเงิน 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่เริ่มต้นในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความมุ่งมั่นของ ECB ที่จะอัดฉีดเงินรวมกว่า 1 ล้านล้านยูโร เพื่อผลักดันเศรษฐกิจยุโรปและกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อ
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขามินเนอาโพลิส กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าที่อัตราเงินเฟ้อและการจ้างงานจะกลับสู่ระดับปกติ ดังนั้นเฟดน่าจะรอต่อไปจนถึงปีหน้าสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- ผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมีนาคม มีดังนี้
  • ยูโรโซน เพิ่มขึ้นแตะ 54.2 จาก 53.7 ในเดือนกุมภาพันธ์ ขยับลงเล็กน้อยจากข้อมูลเบื้องต้นที่ 54.3
  • ฝรั่งเศส ลดลงแตะ 52.4 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน จาก 53.4 ในเดือนกุมภาพันธ์
  • อิตาลี ปรับตัวขึ้นสู่ 51.6 จาก 50.0 ในเดือนกุมภาพันธ์ บ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคบริการ เป็นครั้งที่ 2 ในช่วง 3 เดือน
  • เยอรมัน เพิ่มขึ้น 55.4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน จาก 54.7 ในเดือนกุมภาพันธ์
4. อัตราแลกเปลี่ยน- เงินบาทอยู่ที่ 32.58 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.10 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 120.19 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.61 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดตลาดที่ 53.98 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.84 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลง
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดที่ 59.10 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.98 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) ระบุว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลง 36,000 บาร์เรล แตะ 9.386 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ณ วันที่ 2 เมษายน 2558 ปรับตัวลง 20 แห่ง ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่าราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมาทำให้กลุ่มผู้ผลิต Shale Oil ของสหรัฐฯ ลดปริมาณการผลิตลง
- โกลด์แมน แซคส์ คาดราคาน้ำมันจะยังคงเคลื่อนไหวที่ระดับต่ำต่อไป เนื่องจากแม้ปริมาณการขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐฯ ลดลงอย่างรวดเร็วกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ แต่การลดลงดังกล่าวก็ยังไม่มากพอที่จะเปลี่ยนแปลงทิศทางของตลาดน้ำมัน ทั้งนี้โกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบจะซื้อขายที่ราว 40 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า
6. การเก็งกำไร- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 204.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 201.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.0 เยนต่อกิโลกรัม
- ตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 168.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว- กระทรวงการคลังจีนเปิดเผยว่า อิหร่านและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ได้รับการอนุมัติให้เป็นสมาชิกก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ซึ่งมีจีนเป็นผู้นำ จากการตัดสินใจของประเทศสมาชิกก่อตั้งในขณะนี้ ได้แก่ จีน ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี และอินเดีย ทำให้ขณะนี้ AIIB มีสมาชิกก่อตั้งรวม 35 ประเทศ ซึ่งจะมีการยืนยันในวันที่ 15 เมษายน 2558 โดยประเทศผู้ก่อตั้งจะมีสิทธิ์ในการกำหนดกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการกำกับดูแล และการดำเนินงานของ AIIB ส่วนประเทศที่ยื่นสมัครหลังจากวันที่ 31 มีนาคม 2558 จะมีสิทธิ์ในการลงคะแนบเพียงอย่างเดียว
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ- ราคายางยังคงทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะปริมาณผลผลิตมีน้อย ผู้ประกอบการหลายรายยังมีความต้องการซื้อ และฤดูกรีดยางใหม่อาจช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ เพราะสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งยาวนาน
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและเงินเยนอ่อนค่า รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจยูโรโซนที่สดใส ส่วนปัจจัยลบมาจากเงินบาทค่อนข้างผันผวน ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการส่งออกยาง ขณะที่นักลงทุนจับตาดูรายงานการประชุมประจำเดือนมีนาคมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา














[/td][/tr][/table]