ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 880 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88303
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  20  เมษายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- บริเวณความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทย ทำให้โดยทั่วไปมีอากาศร้อนและมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ส่วนภาคใต้มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซียกล่าวว่า อินโดนีเซียกำลังประสบปัญหาราคายางตกต่ำ รัฐบาลจึงพยายามผลักดันเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศมากขึ้น โดยปัจจุบันอุตสาหกรรมในประเทศใช้ยางเพียงร้อยละ 18.0 ของปริมาณยางปี 2557 ที่ผลิตได้ 3.1 ล้านตัน ถือว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เช่น มาเลเซียที่ใช้ยางในประเทศถึงร้อยละ 40.0 ดังนั้นรัฐบาลจะผลักดันให้มีการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 100,000 ตันต่อปี โดยปี 2558 ตั้งเป้าการใช้ยางอย่างต่ำ 700,000 ตัน โดยเน้นการใช้ยางในโครงการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการจำนวน 118 ล้านล้านรูเปียะห์
3. เศรษฐกิจโลก
- ผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์และมหาวิทยาลัยมิชิแกน ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นสหรัฐฯ เดือนเมษายนเพิ่มขึ้นสู่ 95.9 จากระดับ 93.0 ในเดือนมีนาคม ส่วนดัชนีภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 108.2 จาก 105.0 ในเดือนมีนาคม ขณะที่ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจอนาคตเพิ่มขึ้นสู่ 88.0 จาก 85.3- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน- คอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ Leading Economic Index (LEI) ประจำเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 สู่ 121.4 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และ 0.2 ในเดือนกุมภาพันธ์และมกราคม- สำนักงานสถิติแห่งบสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) กลุ่มยูโรโซนเดือนมีนาคมลดลงร้อยละ 0.1 ไม่เปลี่ยนแปลงจากรายงานเบื้องต้นที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558 ส่วนราคาผู้บริโภคของสหภาพยุโรป (EU.) เดือนมีนาคมลดลงร้อยละ 0.1 เช่นกัน- คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของญี่ปุ่นเดือนมีนาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยคาดหวังถึงแนวโน้มการปรับเพิ่มค่าจ้าง ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่นภาคครัวเรือนที่มีสมาชิกอย่างน้อย 2 ราย ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.8 จุด จากเดือนกุมภาพันธ์ แตะ 41.7 จุด- ธนาคารกลางจีนประกาศปรับลดอัตราการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงอีกร้อยละ 1.0 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันนี้ เป็นการปรับลดอัตราส่วน RRR เป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ หลังจากที่ธนาคารกลางจีนได้ปรับลดไปแล้วร้อยละ 0.5 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 โดยมีเป้าหมายกระตุ้นเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะชะลอตัว- ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า ยอดปล่อยกู้สกุลเงินหยวนไตรมาสแรกปีนี้อยู่ที่ 3.68 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 6.02 แสนล้านหยวน
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 32.37 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 118.93 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.12 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดตลาดที่ 55.74 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.97 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนขายทำกำไร ภายหลังจากที่ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น 6 วันทำการติดกัน ขณะเดียวกันได้รับแรงหนุนจากวิกฤตหนี้สินของกรีซ โดยนักลงทุนวิตกกังวลมากขึ้นว่ากรีซอาจผิดนัดชำระหนี้ในเดือนหน้า- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดที่ 63.45 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.53 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) เปิดเผยรายงานประจำเดือนว่า ผลผลิตน้ำมันของโอเปคพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนมีนาคม และคาดว่าผลผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงในไตรมาส 2 ปีนี้
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 198.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 198.6 เยนต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง- ตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 166.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม จากวันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2558
7. ข่าว
- สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของกรีซลงสู่ระดับ CCC+ จาก B- พร้อมเตือนว่าภาวะหนี้สินและพันธกรณีด้านการเงินอื่น ๆ ของกรีซจะได้รับผลกระทบ หากกรีซไม่เดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจในเชิงลึก หรือภาวะหนี้สินของกรีซไม่ได้รับการบรรเทา- ประธานธนาคารโลก (Word Bank) และผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) เปิดเผยว่า องค์กรทั้ง 2 พร้อมกระชับความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) เพื่อรับมือกับอุปสงค์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาค- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์ ระบุว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนเป็นเรื่องมีความเป็นไปได้ หากข้อมูลเศรษฐกิจที่กำลังจะมีการเปิดเผยต่อไปมีความเหมาะสม พร้อมแนะว่าเฟดควรเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยเร็ว- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาบอสตัน กล่าวที่ลอนดอนว่า เฟดอาจต้องชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไป เนื่องจากการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐกำลังบั่นทอนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ- รัฐบาลกรีซออกมาปฏิเสธรายงานที่ว่ากรีซได้ขอเลื่อนชำระหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ในเดือนพฤษภาคม เนื่องด้วยปัญหาสภาพคล่อง
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางยังคงทรงตัวเคลื่อนไหวอยู่ในระดับนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพราะผลผลิตยางยังมีน้อย ไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ กระตุ้นตลาด และต้องมีแรงกระตุ้นจากปัจจัยบวกจากประเทศใหญ่ ๆ เช่น จีนหรือสหรัฐฯ มีมาตรการที่ชัดเจนออกมา ก็จะส่งผลให้ราคายางมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น ไม่ว่าจะทางบวกหรือทางลบ

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย หลายพื้นที่ยังคงมีสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ทำให้การเปิดกรีดรอบใหม่ช้ากว่าทุกปี ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง เงินบาทและเงินเยนแข็งค่า ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลมากขึ้นว่ากรีซอาจผิดนัดชำระหนี้ในเดือนหน้า รวมทั้งมีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา