ผู้เขียน หัวข้อ: กระทบคนจน! สภาเกษตรฯ วอนรัฐบาลชะลอคำสั่งให้ตัดต้นยาง  (อ่าน 910 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84880
    • ดูรายละเอียด
กระทบคนจน! สภาเกษตรฯ วอนรัฐบาลชะลอคำสั่งให้ตัดต้นยาง


วันที่ 29 พฤษภาคม  พ.ศ. 2558 เวลา 10:28:07 น.





วันที่ 29 พฤษภาคม 2558 นายสาย อิ่นคำ กรรมการสมาคมยางพาราและสถาบันเกษตรกรยางพาราไทย เปิดเผยว่า ในการประชุมหารือเรื่องการแก้ไขปัญหายางพาราเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา ระหว่างรัฐบาล โดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และ นายอำนวย ปะติเส รมช.ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ และสมัชชาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย  ผลการประชุมสำคัญข้อหนึ่งที่เร่งด่วนขณะนี้ คือ ขอให้รัฐบาลชะลอการตัดโค่น และรื้อถอนต้นยางพาราในเขตป่าไม้ ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติให้สภาเกษตรกรแห่งชาติ ทำหนังสือถึงรัฐบาลเพื่อร่วมมือกับหน่วยงานอื่นของรัฐทำกรสำรวจและทำทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่สวนยางไม่ถึง 25 ไร่ เพื่อลดผลกระทบกับคนยากจนที่เป็นเกษตรกรรายย่อย

"จากคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ 66/2557 การปฏิบัติการตามนโยบายโค่นยางพาราตามแผนแม่บทป่าไม้ ไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้ยากไร้ ผู้ยากจน ดังนั้นทางสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้เสนอแนวทางถึงรัฐบาล ขอให้มีการชะลอการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลไว้ชั่วคราว จนกว่าการสำรวจข้อมูลข้างต้นจะแล้วเสร็จ และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาใหม่ต่อไปตามมาภายหลัง" นายสาย กล่าว

ด้านนายบันทม สมสุวรรณ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูซาง จังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า ทางสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 ร่วมกับจังหวัดพะเยา ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลเรื่องการแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินป่าไม้ โดยมีแผนขอคืนพื้นที่ป่าจากผู้บุกรุก รายแรกของจังหวัดพะเยา และรายแรกของสำนักฯ 15 เป็นแปลงยางจำนวนเนื้อที่ 4.5 ไร่ อายุของต้นยาง 3-4 ปี ในท้องที่ ต.ทุ่งกล้วย อ.ภูซาง จ.พะเยา ได้มีการจับกุมยึดพื้นที่และดำเนินคดีมาเป็นที่สิ้นสุดแล้ว คดีนี้ไม่มีตัวเนื่องจากไม่พบผู้กระทำผิด เจ้าหน้าที่จึงได้จัดเป็นพื้นที่เป้าหมายดำเนินการจุดแรกที่จะเข้าตัดฟัน รื้อถอนต้นยางพาราในวันที่ 3 มิถุนายน 2558 นี้ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาเป็นประธาน

"แนวทางการรื้อถอน ทางผู้ปฏิบัติได้ยึดแนวทางของรัฐบาลเป็นหลัก คือ จะสำรวจพื้นที่โดยภาพถ่ายดาวเทียมทางอากาศ หากพบว่าเป็นพื้นที่ทำกินในเขตป่าอนุรักษ์ทั้งหมดแล้วจำแนกว่าพื้นที่ใดทำกินก่อนปี 2545 ก็จะไม่เข้าไปดำเนินการ แต่หากพื้นที่ใดมีหลักฐานระบุชัดเจนว่าเข้าไปทำกินหลังปี 2545 ก็จะต้องเข้าดำเนินการรื้อถอนและขอคืนพื้นที่ต่อไป" หน.อุทยานแห่งชาติภูซาง กล่าว