วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1.สภาพภูมิอากาศ
- ประเทศไทยตอนบนมีความเย็นในตอนเช้าและมีฝนบางแห่งร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนกระจายร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
2.การใช้ยาง
- โตโยต้ามอเตอร์คอร์ป บริษัทญี่ปุ่นยังคงเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่มียอดขายอันดับ 1 ของโลก หลังจาก 9 เดือนแรกของปี 2558 ยอดขายของโตโยอยู่ที่ 7.498 ล้านคัน แซงหน้าเจเนอรัลมอเตอร์ของสหรัฐฯ และโฟล์คสวาเกนในเยอรมนี แม้ยอดขายของโตโยต้าในสามไตรมาสแรกของปีนี้จะลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่โฟล์คสวาเกนมียอดขาย 7.43 ล้านคัน และเจเนอรัลมอเตอร์มียอดขาย 7.2 ล้านคัน
3.เศรษฐกิจโลก
- คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ลงมติให้คงอัตราดอกเบี้ยในช่วง ร้อยละ 0-0.25 ต่อไป ขณะที่ส่งสัญญาณพิจารณาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนธันวาคม (ระหว่างวันที่ 15-16 ธันวาคม 2558) ขณะที่ระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวในระดับปานกลาง
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่าเศรษฐกิจจีนอาจจะมีการขยายตัวมากกว่าที่ IMF คาดการณ์ไว้ถึงแม้แนวโน้มในระยะกลางยังคงมีความไม่แน่นอน โดยกล่าวเสริมว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนที่ระดับร้อยละ 6.9 ในไตรมาส 3 บ่งชี้ว่าจีนสามารถขยายตัวมากกว่าที่ IMF คาดไว้ที่ร้อยละ 6.8
- ผลการสำรวจโดยบริษัทวิจัย GfK เปิดเผยให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเยอรมนีในเดือนพฤศจิกายน มีแนวโน้มปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยคาดว่าจะร่วงลงแตะ 9.4 ในเดือนพฤศจิกายน เทียบกับ 9.6 ในเดือนตุลาคม
- กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกในเดือนกันยายน ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 6 เดือน หลังจากที่ปรับตัวขึ้น 0.8 ในเดือนสิงหาคม ซึ่งตอกย้ำว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคอยู่ในภาวะชะลอตัว
- ยูบีเอส ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2559 ลงเหลือร้อยละ 6.2 จากเดิมที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 6.5 เนื่องจากมองว่าเป็นเรื่องยากที่จีนจะบรรลุเป้าหมายเติบโตที่ร้อยละ 6.5
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.63 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.10 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 120.72 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.24 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดตลาดที่ 45.94 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.74 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่าสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้น 2.24 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 49.05 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้สต๊อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 3.4 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 480 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกันขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.7 ล้านบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ 148.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 160.30 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.1 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 124.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- ผลการสำรวจของจำนวนที่ปรึกษาทากงารเงิน พบว่าความเชื่อมั่นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นสู่ระดับร้อยละ 43.7 ในสัปดาห์ที่แล้วจากระดับร้อยละ 37.5 ในสัปดาห์ก่อนหน้า ส่วนผู้ที่ระบุว่าไม่มีความเชื่อมั่นลดลงสู่ระดับร้อยละ 29.2 จากระดับร้อยละ 31.3
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
- ราคายางปรับขึ้นได้เล็กน้อยตามตลาดต่างประเทศ และโดยภาพรวมผลผลิตยางไทยยังออกสู่ตลาดน้อย
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุนขานรับการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) คงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวานนี้ รวมทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจจีนปีนี้อาจขยายตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีปัจจัยเสี่ยงจากอุปสงค์ยางโดยรวมยังคงซบเซาตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา