ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 860 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88322
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  12  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนบางแห่งร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ กับมีอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบทั่วไป ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ทำให้ในระยะนี้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย

2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้ผลิตยานยนต์จีนเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่เดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 13.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี นับเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 10 เดือน โดยได้รับแรงกระตุ้นจากโครงการของรัฐบาลที่ช่วยปรับลดต้นทุนการซื้อรถยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งจีนได้จำหน่ายรถโดยสาร 1.94 ล้านคันเมื่อเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 1.71 ล้านคันจากปีที่แล้ว ส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะที่ 2.22 ล้านคัน

- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า การผลิตรถยนต์ในจีนช่วง 10 เดือนแรกปีลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 19.657 ล้านคัน พร้อมระบุว่ายอดค้าปลีกรถยนต์ช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบเป็นรายปี มาอยู่ที่ 2.845 ล้านคัน

3. สต๊อคยาง


- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2558 ลดลง 105 ตัน หรือลดลงร้อยละ 1.43 อยู่ที่ 7,245 ตัน จากระดับ 7,350 ตัน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558

4. เศรษฐกิจโลก


- สำนักงานปริวรรตเงินตราแห่งรัฐของจีน (SAFF) เปิดเผยว่า ช่วงไตรมาส 3 จีนขาดดุลบัญชีทุนและบัญชีการเงินเพิ่มขึ้นเป็น 6.34 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับ 4.06 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐในช่วงไตรมาส 2

- คณะที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลเยอรมันแถลงว่า เศรษฐกิจเยอรมันจะขยายตัวร้อยละ 1.7 ในปีนี้ โดยการบริโภคภาคเอกชนเป็นตัวผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมันจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.6 ในปีหน้า ต่ำกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.8

- กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยว่า ตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 8.77 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ

- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า

    การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรช่วง 10 เดือนแรกของปีปรับตัวขึ้นร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรช่วง 10 เดือนแรกของปีชะลอตัวลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี
    ยอดค้าปลีกเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 11.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ในเดือนกันยายน แต่หากเทียบเป็นรายเดือนยอดค้าปลีกเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.83 จากเดือนกันยายน
    ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบเป็นรายปี

5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.77 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.08 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 122.92 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.08 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

6. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนธันวาคมปิดตลาดที่ 42.93 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.28 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีกระแสคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ จะปรับเพิ่มขึ้นอีก โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) มีกำหนดเปิดเผยรายงานสต๊อคน้ำมันประจำสัปดาห์ในช่วงค่ำของวันนี้ตามเวลาประเทศไทย

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดที่ 45.81ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.63 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ WTI สำหรับปี 2559 ลงสู่ระดับ 51.31 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ที่ 53.57 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม EIA ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมัน WTI ปีนี้ขึ้นสู่ระดับ 49.88 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า 49.53 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

7. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 150.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.3 เยนต่อ กิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2559 อยู่ที่ 158.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 122.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

8. ข่าว


- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) รายงานอัตราว่างงานไตรมาส 3 ลดลงแตะร้อยละ 5.3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี ลดลงจากร้อยละ 5.6 ในไตรมาส 2 และต่ำกว่าร้อยละ 6.0 ในไตรมาส 3 ปีก่อน

9. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางน่าจะทรงตัว เพราะยังมีปัจจัยหนุนจากปริมาณผลผลิตมีน้อยจากภาวะฝนตก ทำให้หลายพื้นที่กรีดยางไม่ได้เกือบ 3 สัปดาห์ ขณะที่ผู้ถามซื้อยังมีน้อย การซื้อขายส่วนมากจะเป็นการทำสัญญาส่งมอบเดือนไกล

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยลบจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง และนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน หลังจากจีนยังคงเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา รวมทั้งกระแสคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่วนปัจจัยบวกมาจากสภาพอากาศทางภาคใต้ของไทยยังมีฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้อุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย และเงินบาทอยู่ในระดับอ่อนค่า



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา