ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 784 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82779
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  21  ธันวาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- หย่อมความกดอากาศกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และระนอง มีฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง ระหว่างวันที่ 21 - 23 ธันวาคม 2558 อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง

2. การใช้ยาง


- ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของสภาไตรภาคียางพารา (ITRC) เห็นชอบร่วมกันเรื่องความร่วมมือในการกำหนดราคายางธรรมชาติ โดยจะศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการจำกัดการส่งออกเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางธรรมชาติในปี 2559 โดยกำหนดศึกษาแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน หรือภายในเดือนมกราคม 2559 ซึ่งสมาชิกทั้ง 3 ประเทศจะต้องจำกัดปริมาณส่งออกตามห้วงเวลาที่ประเทศสมาชิกเห็นชอบ ขณะเดียวกันประเทศเวียดนามแสดงเจตนารมณ์จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก ITRC ซึ่งจะทำให้เป็น 4 ประเทศที่มีผลผลิตยางธรรมชาติรวมกันเป็นร้อยละ 74.3 ของยางธรรมชาติทั่วโลก

3. สต๊อคยาง


- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 18 ธันวาคม 2558 เพิ่มขึ้น 14,136 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.42 อยู่ที่ 234,452 ตัน จากระดับ 220,316 ตัน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2558

4. เศรษฐกิจโลก


- สำนักงานสถิติฝรั่งเศสระบุว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพฤศจิกายนปรับตัวขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน แต่เมื่อเทียบเป็นรายปี ดัชนี PPI ลดลงร้อยละ 2.4

- สำนักงานสถิติสหภาพยุโรปรายงานว่า สหภาพยุโรป (EU) มีตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ 1.98 หมื่นล้านยูโรในเดือนตุลาคม เทียบกับที่เกินดุล 1.97 หมื่นล้านยูโรในเดือนกันยายน และ 1.08 หมื่นล้านยูโรในเดือนตุลาคม ปี 2557

- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นสำหรับภาคบริการของสหรัฐฯ ชะลอตัวลงสู่ระดับ 53.7 ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในปีนี้ ลดลงจากเดือนพฤศจิกายนที่ 56.1

- ธนาคารกลางจีนประกาศอัดฉีดเม็ดเงินมูลค่า 1 แสนล้านหยวนให้แก่สถาบันการเงิน 13 แห่ง ผ่านทางโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF) เพื่อเสริมสภาพคล่องในระบบธนาคาร

- ที่ประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า BOJ ตัดสินใจที่จะใช้นโยบายเพิ่มฐานเงินที่อัตรา 80 ล้านล้านเยนต่อปี ผ่านทางการซื้อสินทรัพย์ขนาดใหญ่

5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 36.14 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 121.17 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 1.35 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

6. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมกราคม 2559 ปิดตลาดที่ 34.73 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.22 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานที่สูงเกินไป หลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลที่ส่งสัญญาณว่าผลผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ไม่ได้ลดลง ไม่ว่าจะเป็นแท่นเจาะน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 สัปดาห์ รวมถึงสต๊อคน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นอย่างเหนือความคาดหมายในสัปดาห์ที่แล้ว

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมกราคม 2559 ปิดที่ 36.88 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.18 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- เบเกอร์ ฮิวจ์ บริษัทผู้ให้บริการแก่อุตสาหกรรมน้ำมัน รายงานว่า แท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐฯ ที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้น 17 แท่น อยู่ที่ 541 แท่นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกหลังจากที่ลดลงต่อเนื่องมา 4 สัปดาห์

- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะยังคงต่ำกว่า 100 ดอลล่าร์สหรัฐในระยะยาว แต่จะสามารถฟื้นตัวจากระดับต่ำในปัจจุบัน เนื่องจากอุปสงค์น้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ในขณะนี้ ทั้งนี้โอเปคระบุในรายงานแนวโน้มน้ำมันโลกว่า โอเปคคาดว่าราคาน้ำมันดิบอ้างอิงที่ผลิตโดยสมาชิกโอเปคจะมีราคา 70 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2563 และเพิ่มขึ้นแตะ 95 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2583

7. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 152.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 อยู่ที่ 163.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.8 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 123.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

8. ข่าว


- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า ราคาบ้านใน 33 เมือง จากทั้งหมด 70 เมืองที่ได้รับการสำรวจ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมที่ราคาบ้านเพิ่มขึ้นใน 27 เมือง

9. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะปริมาณยางยังออกสู่ตลาดน้อย และมีผู้ขายล่วงหน้าไว้มากจึงต้องเร่งซื้อ ประกอบกับแหล่งข่าวรายงานว่าผู้ประกอบการที่มียางอยู่บ้างก็ต้องขายออก จึงพยายามให้ราคาสูงขึ้น

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยลบจากเงินเยนแข็งค่าและราคาน้ำมันปรับตัวลดลง รวมทั้งการชะลอซื้อของนักลงทุนในช่วงใกล้วันหยุดยาว ส่วนปัจจัยบวกมาจากเงินบาทอยู่ในระดับอ่อนค่า ช่วยสนับสนุนราคายางและเป็นผลดีต่อการส่งออก



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา