ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 933 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88342
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  11  มกราคม  พ.ศ. 2559
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็น โดยทั่วไป อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย  ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วน กับมีฝนตกกระจาย ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง

2. การใช้ยาง


- ยอดขายรถยนต์นำเข้าในญี่ปุ่น ซึ่งกระทบถึงยอดขายรถยนต์ที่ผลิตในต่างประเทศ โดยคาดว่ารถสัญชาติญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.2 จากปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ 328,622 คัน ในปี 2558

3. เศรษฐกิจโลก


- ธนาคารโลก คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและแคริบเบียน ยังคงอ่อนแรงในปี 2559 หลังอัตราการขยายตัวหดลง แตะระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 0.9 ในปี 2558 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในบรรดาประเทศตลาดเกิดใหม่

- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือนพฤศจิกายน ปรับตัวลงร้อยละ 0.3 จากเดือนตุลาคม ที่ขยายตัวร้อยละ 0.5  เนื่องจากการชะลอตัวลงของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่  ขณะที่การส่งออกในเดือนพฤศจิกายน อ่อนแรงลงร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6  เนื่องจากความต้องการที่แข็งแกร่งภายในประเทศ

- สำนักงานศุลกากรของฝรั่งเศส เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือนพฤศจิกายน ลดลงแตะ 4.63 พันล้านยูโร ในเดือนพฤศจิกายน จาก 4.87 พันล้านยูโร ในเดือนตุลาคม  เนื่องจากการส่งออกมีการขยายตัวเร็วกว่าการนำเข้า

- สำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน ปรับตัวลงร้อยละ 0.9 จากเดือนตุลาคม

- ประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 6.7 ในปี 2559 ขณะที่คาดว่าโตขึ้นร้อยละ 6.9 ในปี 2558 ถึงแม้ว่าจะมีความวิตกเกี่ยวกับการอ่อนค่าของเงินหยวนและการทรุดตัวของตลาดหุ้นจีน

- ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีนขยายตัวร้อยละ 1.4 ในปี 2558 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 3.0 ที่รัฐบาลจีนตั้งไว้  นอกจากนี้ยังต่ำกว่าตัวเลขปี 2557 ที่โตขึ้นร้อยละ 2.0 สำหรับดัชนี CPI เดือนธันวาคม ปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.6 หลังจากที่ขยายตัวขึ้นร้อยละ 1.5 ในเดือนพฤศจิกายน

- ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของจีน ซึ่งเป็นมาตราวัดเงินเฟ้อระดับค้าส่งปรับตัวลงร้อยละ 5.2 ในปี 2558 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า  สำหรับเดือนธันวาคม ดัชนี PPI ลดลงร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบรายปี ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนพฤศจิกายน ที่หดตัวลงร้อยละ 5.9 เช่นกัน  ทั้งนี้ดัชนี PPI ของจีนปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 46 ติดต่อกันแล้ว

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 36.31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.11 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 117.26 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.84 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

- ธนาคารกลางจีน ได้ปรับค่ากลางเงินหยวนแข็งค่าขึ้น เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 9 วัน หลังจากมีการปรับลดค่าเงินหยวนลง 8 วันติดต่อกัน

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559
ปิดตลาดที่ 33.16 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.11 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานพลังงานที่สูงเกินไป

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ปิดที่ 33.55 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.20 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 หยุดทำการเนื่องในวัน Coming of Age Day (วันบรรลุนิติภาวะ)

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 112.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 292,000 ตำแหน่ง ในเดือนธันวาคม จากระดับ 252,000 ตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน ขณะที่อัตราว่างงานทรงตัวที่ระดับร้อยละ 5.0 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปีครึ่ง

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางน่าจะทรงตัว โดยเฉพาะยางแผ่นดิบ ส่วนยางรมควันน่าจะสูงขึ้นได้เล็กน้อย ประกอบกับอากาศเริ่มแล้งและร้อน ทำให้ผลผลิตลดลง ราคาน้ำยางเริ่มดีขึ้น  อย่างไรก็ตาม การถามซื้อยังมีน้อยและซื้อในราคาต่ำกว่าราคาตลาดสิงคโปร์ ขณะที่ผู้ขายถ้าได้กำไรเล็กน้อยก็เร่งขาย เพราะไม่มั่นใจและเกรงว่าราคาจะลดลงอีก

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของเงินบาทและความกังวลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตยางที่ลดลง เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง ทำให้ต้นยางผลัดใบเร็วขึ้น  อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง และความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวยังคงเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่ออุปสงค์ยางในภาพรวม


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา