ผู้เขียน หัวข้อ: รายงาน???าวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 9 กรกฎาคม 2556  (อ่าน 1963 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83040
    • ดูรายละเอียด
รายงาน???าวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 9 กรกฎาคม 2556

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ กระทรวงการคลัง -- อังคารที่ 9 กรกฎาคม 2556 11:43:16 น.

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 9 กรกฎาคม 2556


Summary:

1. พาณิชย์เตือนส่งออกเร่งหาตลาดใหม่รับเศรษฐกิจจีนชะลอ แต่มั่นใจไม่ยืดเยื้อ เอกชนเผยส่งออกของไทยได้รับผลกระทบมากขึ้น

2. ผู้ผลิตอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มแห่ย้ายฐานการผลิต

3. แรงขายทำกำไรกดดันน้ำมันปิดลบ 8 เซนต์
         

Highlight:


1. พาณิชย์เตือนส่งออกเร่งหาตลาดใหม่รับเศรษฐกิจจีนชะลอ แต่มั่นใจไม่ยืดเยื้อ เอกชนเผยส่งออกของไทยได้รับผลกระทบมากขึ้น

- นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ผู้ส่งออกควรมองหาตลาดอื่นมาทดแทน แต่ไม่ควรจะทิ้งตลาดจีนที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งในครึ่งปีหลังตลาดสหรัฐจะกลับมาเป็นตลาดที่น่าสนใจอีกครั้งหนึ่ง เพราะกำลังมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นเช่นเดียวกับยุโรป โดยเห็นว่าจีนจะไม่ปล่อยให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงจนยืดเยื้อหรือ ปล่อยให้ซึมลึก จึงควรใช้การจับตาตลาดจีนไว้ แต่ไม่ใช่การละทิ้ง

- สศค. วิเคราะห์ว่า ในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค. - พ.ค.) ของปีนี้ มูลค่าการส่งออกของไทยไปตลาดจีนมากที่สุด คือ มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 11.7 รองลงมาได้แก่ ตลาดสหรัฐ ร้อยละ 10.2 และ ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 9.9 โดยในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา การส่งออกลดลงที่ร้อยละ -5.2 (%y-o-y) ซึ่งส่งผลมาจากตลาดหลัก เช่น ตลาดจีนที่มีการลดลงที่ร้อยละ -16.3 ญี่ปุ่นร้อยละ -7.6 และ สหรัฐอเมริกาที่ร้อยละ -6.9 อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปตลาดมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 อินโดนีเซียร้อยละ 8.1 และ เกาหลีใต้ร้อยละ 23.1 ซึ่งตลาดเหล่านี้ถือเป็นตลาดทดแทนที่น่าสนใจและควรสนับสนุนท่ามกลางเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง แต่โดยพื้นฐานแล้วไทยและจีนยังคงมีการเชื่อมโยงผลิตสินค้าร่วมกันไม่น้อย และเชื่อว่าทางการจีนจะมีมาตรการรักษาเสถียร???าพเศรษฐกิจอยู่เป็นระยะ


2. ผู้ผลิตอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มแห่ย้ายฐานการผลิต

- นายสุกิจ คงปิยาจารย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่ผันผวนและแข็งค่าขึ้นช่วงต้นปีแม้ปัจจุบันจะอ่อนค่าลง แต่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออก โดยคาดว่าจะมีมูลค่า 2,500-2,800 ล้านดอลลาร์ ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 5.0 ทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ ท็อปเทน ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านทั้ง กัมพูชา ลาว พม่า และ เวียดนาม

- สศค. วิเคราะห์ว่า อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อ???าคการผลิตของไทยโดยมีสัดส่วนร้อยละ 7.1 ของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรวม ซึ่งประกอบไปด้วยเสื้อผ้าสำเร็จรูปและเครื่องนุ่งห่ม โดยการผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายอยู่ในช่วงขาลงมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มจากค่าจ้างแรงงาน 300 บาทเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานเข้มข้น ทำให้ผู้ประกอบการมีแนวโน้มย้ายฐานการผลิตมากขึ้น ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สะท้อนได้จากดัชนีผลผลิต???าคอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลล่าสุดเดือน พ.ค.56 หดตัวร้อยละ -12.8 ส่งผลให้การผลิตใน 5 เดือนแรกของปี 56 หดตัวร้อยละ -14.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปและเครื่องนุ่งห่มที่หดตัวเช่นเดียวกันที่ร้อยละ -4.3 และ -4.6 ตามลำดับ


3. แรงขายทำกำไรกดดันน้ำมันปิดลบ 8 เซนต์

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (8 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบ WTI ขยับลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับตัวเลขจ้างงานที่สูงเกินคาดของสหรัฐ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ส.ค. ลดลง 8 เซนต์ ปิดที่ 103.14 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 102.13-104.12 ดอลลาร์ ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือน ส.ค. ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 29 เซนต์ ปิดที่ 107.43 ดอลลาร์/บาร์เรล

- สศค. วิเคราะห์ว่า แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในปี 56 ถือว่าอยู่ในช่วงขาลง โดยมีสาเหตุสำคัญ ได้แก่ 1. อุปทานน้ำมันดิบของโลกที่คาดว่าจะขยายตัว โดย EIA (Energy Information Administration) คาดว่าทั้งกลุ่ม OPEC และ non-OPEC จะเพิ่มกำลังการผลิตจากปีก่อนหน้า โดยเฉพาะสหรัฐฯ ได้เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ในการสกัดน้ำมันจากหินหรือที่เรียกว่า Shale Oil 2. อุปสงค์ต่อน้ำมันที่คาดว่าจะปรับลดลง จากเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะฟื้นตัวอย่างล่าช้า และ 3. ความกังวลของนักลงทุนต่อการประกาศชะลอมาตรการ QE ของธนาคารกลางสหรัฐในอนาคต จากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แสดงถึงการฟื้นตัว ทำให้นักลงทุนบางส่วนทำการลดการถือครองสินทรัพย์ต่างๆ ในตลาดสินค้าโ???ค???ัณฑ์ลง ทั้งนี้ สศค. คาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 56 จะอยู่ที่เฉลี่ย 106.0 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 101 -111 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล


ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel:  02-273-9020  Ext. 3257