ผู้เขียน หัวข้อ: จีนเคาะแผนปรับสมดุลเศรษฐกิจ คาดฉุดดีมานด์ซบต่อเนื่องทั่วโลก  (อ่าน 1668 ครั้ง)

tavarn

  • Global Moderator
  • Jr. Member
  • *****
  • กระทู้: 57
    • ดูรายละเอียด
เอเจนซีส์ ? ชี้การ ?ปรับสมดุล? เศรษฐกิจของพญามังกรจะส่งผลกว้างขวาง ชนิดที่ไม่มีประเทศใดกล้ามองข้าม เพราะนอกจากทำให้ดีมานด์ทั่วโลกซบเซาลงอีกหลายปีแล้ว ความเคลื่อนไหวนี้ยังอาจบั่นทอนความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศต่างๆ
       
        บทวิเคราะห์ของสำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษระบุว่า ที่ผ่านมา จีนเดินตามกลยุทธ์ที่ญี่ปุ่นบุกเบิกไว้ในช่วงทศวรรษ 1950-1990 ซึ่งบรรดา ?เสือเอเชีย? อย่างเช่นเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์ต่างยึดถือเป็นแบบแผนเช่นเดียวกัน
       
        ทว่า ด้วยจำนวนประชากรที่มากกว่าญี่ปุ่นเกือบ 7 เท่า และมากกว่าเหล่าชาติที่เป็นเสือเศรษฐกิจรวมกัน ดังนั้น ผลกระทบจากการยึดถือปฏิบัติตามกลยุทธ์ดังกล่าวของจีนต่อโลก จึงยิ่งใหญ่ตามไปด้วย ขณะที่มีช่องทางจำกัดในการพลิกแพลง
       
        กลยุทธ์ที่ว่าเกี่ยวข้องกับการที่รัฐบาลโดยการช่วยเหลือของยักษ์อุตสาหกรรมกลุ่มเล็กๆ ที่เป็นช่องทางนำรายได้ของประเทศไปลงทุน ซึ่งการลงทุนในที่นี้หมายถึงสิ่งใดๆ ก็ตาม ที่ส่งเสริมความสามารถในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการให้การศึกษาแก่ประชาชน การสร้างอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมหนัก และที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างเมือง ถนน ทางรถไฟ โรงงานไฟฟ้า ท่าเรือ และโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ อีกมากมาย
       
        กลยุทธ์นี้ยังเกี่ยวข้องกับการพึ่งพิงการส่งออกอย่างมาก ซึ่งช่วยให้จีนสะสมสกุลเงินต่างชาติที่จำเป็นในการนำเข้าวัตถุดิบและเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
       
        อย่างไรก็ตาม การผลักดันเศรษฐกิจด้วยการลงทุนและการส่งออก มีด้านลบเช่นเดียวกัน นั่นคือทำให้จีนใส่ใจดูแลความต้องการเฉพาะหน้าของประชาชนตัวเองน้อยลง
       
        เพื่อสร้างอัตราเติบโตเฉลี่ย 10% ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลปักกิ่งต้องจัดสรรผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ให้แก่ประชาชนอย่างเข้มงวด ดังเช่นที่ไมเคิล เพตทิส ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ระบุว่า เป้าหมายสำคัญอันดับต้นๆ ของจีนอาจได้มาจากนโยบายต่างๆ ได้แก่ ค่าเงินอ่อนซึ่งทำให้ผู้ส่งออกมีความสามารถแข่งขันสูง แต่ทำให้สินค้าอุปโ???คบริโ???คนำเข้าแพงขึ้น อัตราดอกเบี้ยต่ำซึ่งดีต่อผู้กู้ยืม (ผู้ผลิต อุตสาหกรรมของรัฐ และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์) แต่ไม่ดีสำหรับผู้ฝากเงิน การขึ้นค่าแรงที่ไม่สอดรับกับมูลค่าเฉลี่ยของผลผลิต ซึ่งอาจทำให้มีแรงงานต้นทุนต่ำล้นเกินความต้องการจากการที่เกษตรกรทิ้งไร่นาเข้าไปหางานทำในเมือง รวมถึง การที่รัฐบาลท้องถิ่นมีสิทธิ์เวนคืนที่ดินของเกษตรกรเพื่อนำมาพัฒนาสร้างผลกำไร เป็นต้น
       
        อย่างไรก็ดี ตอนนี้นโยบายที่กล่าวมาทั้งหมดของปักกิ่งกำลังจะกลับตาลปัตร เพื่อให้การใช้จ่ายของผู้บริโ???คซึ่งส่วนใหญ่คือชนชั้นกลางที่กำลังขยายตัวรับบทบาทหลักในการผลักดันเศรษฐกิจ
        ในความเป็นจริง ผู้นำจีนพูดถึงเรื่องนี้มาหลายปีแล้ว แต่เพิ่งจะดูเป็นจริงเป็นจังในยุคประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำคนปัจจุบัน เนื่องจากมีทางเลือกน้อยมากในยุคที่ไม่สามารถพึ่งพิงการส่งออกและการลงทุนได้เหมือนเดิม
       
        วิกฤตการเงินปี 2008 บ่งชี้ชัดเจนว่า อเมริกาและยุโรปไม่สามารถกู้ยืมเงิน จากจีนเพื่อซื้อสินค้าจีนได้อีกต่อไป นอกจากนี้ด้วยขนาดมหึมาของตัวเอง จีนจึงทำให้ตลาดส่งออกอิ่มตัว
       
        รัฐบาลปักกิ่งรับมือวิกฤตการณ์ด้วยการเพิ่มการลงทุนในประเทศ ทว่า การก่อสร้างที่เติบโตร้อนแรงจากนโยบายอัดฉีดสินเชื่อนับจากปี 2009 กำลังทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยล้นเกินความต้องการ ขณะที่ผู้พัฒนามีหนี้ก้อนใหญ่ที่ไม่สามารถจ่ายคืนได้
       
        ปัจจุบัน การบริโ???คของจีนกำลังบูมดังจะเห็นได้จากรายได้และยอดค้าปลีกที่เติบโตในอัตราเลข 2 หลัก ส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะประชากรกลายเป็นคนเมืองถึงครึ่งประเทศ หากสามารถรักษาการเติบโตในการบริโ???คไว้ได้ ควบคู่ไปกับการควบคุมการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ จีนจะแซงอเมริกาและสห???าพยุโรป (อียู) ขึ้นเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของโลก
       
        อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ข่าวดีทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการเนื้อที่เพิ่มขึ้นของผู้มีอันจะกินในแดนมังกรมีแนวโน้มดันให้ราคาอาหารโลกพุ่งขึ้นอย่างน้อยจนกว่าการตัดต่อทางพันธุกรรมจะบรรลุผลสำเร็จในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
       
        แต่ประเด็นสำคัญคือ การ ?ปรับสมดุล? ของจีนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และให้ผลดีในระยะยาว เศรษฐกิจโลกปัจจุบันต้องการการใช้จ่ายเพิ่มมากกว่าการรัดเข็มขัด และผู้บริโ???คจีนอาจตอบสนองความปรารถนานี้ได้
       
        ทว่า แนวทางนี้อาจมีอุปสรรค การบริโ???คในครัวเรือน คิดเป็นองค์ประกอบไม่ถึง 1 ใน 3 ของการใช้จ่ายในเศรษฐกิจจีน เทียบกับ 50-70% ในประเทศอื่นๆ ขณะที่การใช้จ่ายในการลงทุนที่คิดเป็นสัดส่วน 48% ของผลผลิตเศรษฐกิจกำลังซบเซา ซึ่งทั้งหมดนี้ชี้ว่า เศรษฐกิจจีนอาจชะลอลงอยู่ที่ 5-7% ในช่วง 2-3 ปีหน้า
       
        แม้สถานการณ์ราบรื่นแต่แนวโน้มที่เศรษฐกิจจีนจะคลายความร้อนแรงลงมีนัยสำคัญอย่างมากต่อทั่วโลก ตัวอย่างเช่น???าคก่อสร้างแดนมังกรเป็นลูกค้าสำคัญของโลหะพื้นฐาน และมีบทบาทสำคัญในการดันราคาสินค้าโ???ค???ัณฑ์ขึ้นถึงระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ริโอ ตินโต หนึ่งในบริษัทเหมืองแร่ใหญ่สุดของโลกประเมินว่า ปีที่ผ่านมา จีนบริโ???คแร่เหล็ก 2 ใน 3 ของโลก, 45% และ 42% สำหรับอลูมิเนียมและทองแดงตามลำดับ
       
        ดังนั้น หากความต้องการของจีนลดลงต่อเนื่องย่อมส่งผลอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในขณะที่ราคาสินค้าโ???ค???ัณฑ์เหล่านี้อยู่ในช่วงขาลงมาตั้งแต่ต้นปี โดยผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงได้แก่ เหมืองแร่ในบราซิล ชิลี หลายชาติในแอฟริกา รัสเซีย คาซัคสถาน แคนาดา และออสเตรเลีย
       
        ใช่เพียงเหมืองแร่เท่านั้น มีรายงานว่า ราคายางกำลังดิ่งลง เนื่องจากความต้องการเพื่อนำไปผลิตยางรถบรรทุกของจีนลดลง นอกจากนี้อุตสาหกรรมหลายแขนงของจีนยังทำให้เกิดปัญหาสินค้าล้นตลาด อาทิ เหล็กกล้า ส่งผลให้ผู้ผลิตจีนบางรายต้องระงับการผลิตและขาดทุน
       
        ทั้งหมดนี้หมายความว่า การลงทุนมากเกินไปของจีน ไม่เพียงเกินหน้าเกินตาเศรษฐกิจของตัวเอง แต่ยังเกินกว่าเศรษฐกิจโลกจะรองรับไหว อีกทั้งเป็นความท้าทายพื้นฐานสำหรับเศรษฐกิจโลก
       
        การบูมของ???าคก่อสร้างจีนนับจากปี 2009 หนักไปที่การนำเข้าวัสดุ ที่ทำให้ยอดเกินดุลการค้าที่คิดเป็นสัดส่วน 10% ของผลผลิตเศรษฐกิจในปี 2007 หดหายไปเกือบหมด ดังนั้น หากการบูมดังกล่าวสิ้นสุดลง เท่ากับว่า การนำเข้าสินค้าเหล่านั้นจะทรุดฮวบและยอดเกินดุลจีนดีดกลับชั่วคราว
       
        ขณะเดียวกัน ปักกิ่งยังพยายามช่วย???าคส่งออกเพื่อให้สามารถรองรับคนงานก่อสร้างที่ถูกปลดออก ด้วยการประกาศมาตรการอุดหนุนใหม่ๆ และอาจมีอีกทางเลือกหนึ่งคือการปล่อยให้ค่าเงินหยวนอ่อนลง
       
        ทว่า ความเคลื่อนไหวเหล่านี้อาจทำให้สถานการณ์การเกินดุลการค้าจีนยิ่งแย่ลง และไม่เป็นผลดีอย่างยิ่งในขณะที่ทั้งยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น พยายามส่งออกเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ???ายใน
       
        เศรษฐกิจจีนคิดเป็นสัดส่วน 11% ของผลิต???ัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของทั้งโลก ดังนั้น การเกินดุลที่เพิ่มขึ้นทุก 10% ของจีนจะฉุดรั้งการใช้จ่ายของทั่วโลกลง 1%
       
        โดยสรุปก็คือ มีความเสี่ยงที่อุปสงค์ทั่วโลกจะซึมเซาลงอีกหลายปี และในช่วงเดียวกันนั้นอาจเกิดการปีนเกลียวทางการค้าถี่ขึ้น