ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 1962 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  23  พฤษภาคม  พ.ศ. 2559
ปัจจัย

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ

- ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยภาคใต้มีเมฆส่วนมากกับมี
ฝนตกร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง

- ผู้อำนวยการบริหารกลุ่มบริษัทยางแห่งอินโดนีเซีย สาขาสุมาตราเหนือ รายงานว่า
การส่งออกยางธรรมชาติจากสุมาตราเหนือลดลงอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 8.23 เหลือเพียง 137,826 ตัน ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ จากในช่วงเดียวกันที่ส่งออก 150,194 ตัน
3. สต๊อคยาง

- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2559 เพิ่มขึ้น 3,698 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.81 อยู่ที่ 317,467 ตัน จากสต๊อคเดิมที่ 313,769 ตัน เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2559
- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2559 เพิ่มขึ้น 163 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.97 อยู่ที่ 8,421 ตัน จากสต๊อคเดิมที่ 8,258 ตัน เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2559
4. เศรษฐกิจโลก

- มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงสู่ระดับร้อยละ 6.3 ในปี 2559 จากร้อยละ 6.9 ในปี 2558 เนื่องจากแนวทางดำเนินนโยบายของทางการจีน
- มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ลงสู่ระดับร้อยละ 2.0 ในปี 2559 จากร้อยละ 2.3 ในปี 2558 ส่วนปี 2560 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยมูดี้ส์ระบุว่าเศรษฐกิจโลกยังคงซบเซาเนื่องจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ได้สร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเมษายนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ใกล้เคียงกับการคาดการณ์ว่าจะทรงตัว และยังปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบปี อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบเป็นรายปีแล้ว ดัชนี PPI ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.0
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก กล่าวว่า เฟดมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในฤดูร้อนนี้ หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นไปตามที่เฟดคาดการณ์ไว้ โดยเดือนมิถุนายนนับเป็นเวลาเหมาะสมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นมียอดเกินดุลการค้าเดือนเมษายนทั้งสิ้น 8.235 แสนล้านเยน โดยยอดส่งออกปรับตัวลดลงร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 23.3
5. อัตราแลกเปลี่ยน

- เงินบาทอยู่ที่ 35.64 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.06 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 109.76 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.27 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดตลาดที่ 47.75 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.41 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ท่ามกลางอุปทานน้ำมันดิบที่สูงเกินไป
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 48.72 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.09 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
7. การเก็งกำไร

- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 154.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.1 เยน
ต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 158.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.3 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 158.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 4.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
8. ข่าว

- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายบ้านมือสองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมากกว่าที่คาดการณ์ โดยยอดจำหน่ายบ้านเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน สู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน ที่ 5.47 ล้านยูนิต
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 16,000 ราย สู่ระดับ 278,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 14 พฤษภาคม 2559 หลังพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือนในสัปดาห์ก่อน
9. ข้อคิดเห็นของประกอบการ

- ราคาปรับตัวลดลงประมาณ 2 - 3 บาท ตามตลาดล่วงหน้าโตเกียว ซึ่งมองว่าเป็น
การเล่นทางเทคนิคที่มีการซื้อขายในกระดาษ เพราะโดยภาพรวมปริมาณยางมีน้อยมาก โดยเฉพาะโรงงานต่าง ๆ ประสบปัญหาไม่มียางส่งมอบ ต้องยกเลิกหรือขอเลื่อนเรือเพื่อ
ส่งมอบกันถ้วนหน้า
แนวโน้ม  ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีนในปีนี้ รวมทั้งการส่งออกของญี่ปุ่นเดือนเมษายนปรับตัวลดลงเกินคาด อย่างไรก็ตาม ปริมาณผลผลิตที่ยังคงออกสู่ตลาดน้อยยังเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง
 

ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา