ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 1384 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559


ปัจจัย วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ - ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ยังคงมีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่


2. การใช้ยาง - สมาคมกลุ่มประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) คาดการณ์ว่า ผลผลิตยางธรรมชาติ
ปี 2559 จะน้อยกว่าความต้องการใช้ เนื่องจากในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมาราคายางตกต่ำ
ไม่จูงใจให้เกษตรกรปลูกเพิ่ม อนาคตประเทศอินเดียจะเป็นตลาดนำเข้านอกเหนือจากจีน
เนื่องจากปี 2559 มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 หรือประมาณ 4 แสนตัน เพราะการ
ปลูกเพิ่มมีความยุ่งยาก


3. เศรษฐกิจโลก - สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพฤษภาคมปรับตัว
เพิ่มขึ้น หลังจากที่หดตัวในเดือนเมษายน โดยได้รับแรงหนุนจากความแข็งแกร่งของตลาด
หุ้นโตเกียวและเงินเยนที่อ่อนค่าในเดือนที่ผ่านมา โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน
พฤษภาคมอยู่ที่ 40.9 เพิ่มขึ้น 0.1 จุดจากเดือนเมษายน
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยในรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book
ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวปานกลางในเดือนเมษายนจนถึงช่วงกลางเดือนพฤษภาคม
และภาวะตึงตัวในตลาดแรงงานส่งผลให้แรงกดดันด้านค่าแรงและราคาปรับตัวสูงขึ้น
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาดัลลัส กล่าวย้ำว่า เฟดควรปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยในไม่ช้า เนื่องจากเศรษฐกิจกำลังมีการปรับตัวเข้าใกล้ภาวการณ์จ้างงานเต็มที่
และอัตราเงินเฟ้อกำลังเริ่มปรับตัวขึ้น
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจ
ในยูโรโซน และอัตราเงินเฟ้อปีนี้ โดยคาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะมีการขยายตัวร้อยละ 1.6
ในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.4 ที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมีนาคม ขณะที่คาดว่าเงินเฟ้อจะอยู่
ที่ร้อยละ 2.0 ในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.1 ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จัดประชุมนโยบายการเงิน โดยที่ประชุมมีมติคงอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และ ECB ยังได้คงอัตรา
ดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ร้อยละ -0.4 นอกจากนี้ ECB ยังได้
ประกาศคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ 8
หมื่นล้านยูโรต่อเดือน


4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.57 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.11 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 109.00 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.17 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่
49.17 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.16 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขานรับรายงาน
ของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ซึ่งระบุว่าสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ
ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 50.04
ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.32 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ
ลดลง 1.4 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว อยู่ที่ 535.7 ล้านบาร์เรล น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์
คาดว่าจะลดลง 2.5 ล้านบาร์เรล
- แหล่งข่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) เปิดเผยว่า โอเปคไม่มีการปรับเปลี่ยน
นโยบายการผลิตน้ำมันในการประชุมเมื่อวานนี้ เนื่องจากที่ประชุมไม่สามารถตกลงกันได้
เกี่ยวกับการกำหนดเพดานการผลิตน้ำมัน


6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 156.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 157.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.7 เยนต่อ
กิโลกรัม
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 151.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง

7. ข่าว - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงาน
ครั้งแรกลดลง 1,000 ราย อยู่ที่ 267,000 รายในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 พฤษภาคม 2559
- ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐฯ
ประจำเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 173,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่
175,000 ตำแหน่ง


8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางยังคงเคลื่อนไหวทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงมากในระยะนี้ ถึงแม้ว่าตลาดล่วงหน้า
จะค่อนข้างผันผวนในทิศทางที่ปรับตัวลดลง แต่จากภาวะที่ปริมาณผลผลิตมีน้อย และ
ความต้องการซื้อของผู้ประกอบการ ทำให้ราคายางยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงได้




แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยปัจจัย
บวกยังคงเป็นปัจจัยเดิม ๆ คือ อุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อย และความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศ
ประกอบกับราคาน้ำมันดิบปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้น และข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เงินเยน
แข็งค่าและความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน ยังเป็นปัจจัยกดดันราคายางได้ในระดับหนึ่ง



สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา