ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 1169 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ปัจจัย วิเคราะห์


1.สภาพภูมิอากาศ - ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70
ของพื้นที่ และตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจนถึงนราธิวาส ส่งผลกระทบต่อ
การกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่

2. การใช้ยาง - สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ยุโรปเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ในสหภาพยุโรป (EU) เดือน
พฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน นับเป็นการเพิ่มขึ้น 33 เดือนติดต่อกัน
และเกือบถึงระดับก่อนหน้าภาวะถดถอย โดยจำหน่ายยานยนต์ใหม่ในกลุ่ม 28 ประเทศ
มีจำนวนทั้งสิ้น 1.29 ล้านคัน


3. เศรษฐกิจโลก - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤษภาคมขยับขึ้น
ร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน หลังจากปรับขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือนเมษายน เมื่อ
เทียบเป็นรายปีดัชนี CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ในเดือนเมษายน
- ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ที่ร้อยละ 0.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด นอกจากนี้ BOE ยังมีมติคงวงเงินการซื้อพันธบัตรตาม
มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 3.75 แสนล้านปอนด์
- ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) เตือนว่า หากชาวอังกฤษตัดสินใจแยกตัวจากสหภาพยุโรป
(Brexit) ในการลงประชามติวันที่ 23 มิถุนายน 2559 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก
ขณะที่เงินปอนด์จะทรุดตัวลงอย่างหนัก
- ประธานดอยซ์แบงค์เตือนว่า หากชาวอังกฤษลงคะแนนเสียงให้อังกฤษออกจากสหภาพ-
ยุโรปจะเกิดหายนะทางเศรษฐกิจสำหรับอังกฤษ และหายนะทางการเมืองสำหรับ EU.
ซึ่งคำเตือนดังกล่าวสอดคล้องกับความกังวลของหลายฝ่าย
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9
ในไตรมาส 1 อยู่ที่ 1.2467 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4
ปี 2551 โดยได้รับผลกระทบจากการลดลงของการส่งออก และการลงทุนจากต่างประเทศ


4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.24 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.02 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 104.59 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 1.01 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่
46.21 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.80 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุน
วิตกกังวลว่าหากอังกฤษแยกตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Brexit) จะส่งผล
กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก และฉุดอุปสงค์พลังงานให้อ่อนแอลงด้วย นอกจากนี้ยัง
ได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ และแท่นขุดเจาะน้ำมันใน
สหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 ปิดตลาดที่
47.19 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ลดลง 1.78 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล


6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 151.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.8
เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2559 อยู่ที่ 158.9 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น
1.1 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 148.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม



7. ข่าว - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก
เพิ่มขึ้น 13,000 ราย สู่ระดับ 277,000 ราย ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 มิถุนายน 2559
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำหนด
นโยบายการเงินของเฟด (FOMC) ว่า การลงประชามติในสหราชอาณาจักรกรณีถอนตัว
ออกจาสหภาพยุโรป (Brexit) ที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้า ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เฟด
ตัดสินใจคงนโยบายการเงินในการประชุมครั้งล่าสุด


8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งแรงหนุนส่วนมากมาจากปัจจัยในประเทศที่เกี่ยวกับการ
ขาดแคลนยางของผู้ประกอบการ จึงทำให้มีการแข่งขันซื้อสูง ขณะที่ปริมาณผลผลิต
ก็เพิ่มขึ้นช้า เพราะหลายพื้นที่ฝนตก กรีดยางได้น้อย และบางพื้นที่ก็ยังได้รับฝนไม่เต็มที่
ต้นยางให้ผลผลิตน้อย


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อเพื่อ
เก็งกำไร หลังจากราคาปรับตัวลดลงติดต่อกันหลายวัน เหตุจากเงินเยนแข็งค่าที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี นอกจากนี้
ราคายางยังมีปัจจัยหนุนจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นน้อยจากภาวะฝนตกในหลายพื้นที่ปลูกยางของไทย อย่างไร
ก็ตาม ราคายางยังมีปัจจัยลบจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจโลก หากอังกฤษเลือก
ที่จะออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU.)


สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา