ผู้เขียน หัวข้อ: เกษตรกรผู้ปลูกยางในอินเดียหยุดกรีดยาง ในขณะที่อุตสาหกรรมยางล้อจะเพิ่มการนำเข้ายาง (13/07/2559)  (อ่าน 1160 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 87701
    • ดูรายละเอียด
เกษตรกรผู้ปลูกยางในอินเดียหยุดกรีดยาง ในขณะที่อุตสาหกรรมยางล้อจะเพิ่มการนำเข้ายาง (13/07/2559)



[/size]เกษตรกรผู้ปลูกยางรายย่อย ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางกลุ่มหลักของอินเดียยังคงหยุดกรีดยาง ถึงแม้ว่าราคายางจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้อุตสาหกรรมยางล้อในประเทศต้องเพิ่มปริมาณการนำเข้ายางตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น นาย PM Thomas อดีตกรรมการผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์ Pala Rubber Marketing กล่าวว่า ?ถึงแม้ว่าราคายางพาราจะสูงเกินกว่า 140 รูปีต่อกิโลกรัมแล้วก็ตาม แต่ก็มีเกษตรกรจำนวนไม่มากนักที่ทำการกรีดยาง โดย ใช้ร่มกันน้ำฝนเฉพาะสวนยางขนาดใหญ่เท่านั้น เนื่องจากจำเป็นจะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่คนงาน ส่วนแผนเกี่ยวกับแรงจูงใจใหม่ด้านราคายางของรัฐบาลชุดใหม่นี้อาจกระตุ้นให้เกษตรกรกรีดยางเพิ่มขึ้นได้? ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมาปริมาณการผลิตยางในอินเดียอยู่ที่ 85,000 ตัน ซึ่งเท่ากับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าข้อมูลของคณะกรรมการยางอินเดียจะระบุว่าผลผลิตยางในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ได้เพิ่มขึ้นมาอีกร้อยละ 2.2 แล้วก็ตาม อุตสาหกรรมยางล้อชี้ให้เห็นว่าทางอาจเพิ่มการนำเข้ายาง โดยนาย Ashish Pandey รองประธานฝ่ายจัดหาวัตถุดิบของบริษัท JK Tyres ระบุว่า ทางบริษัทต้องเผชิญกับความยากลำบากในการจัดหายางให้เพียงพอกับความต้องการรายวันในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีสินค้าป้อนให้กับตลาดภายในประเทศแทบไม่เพียงพอ ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม อินเดียนำเข้ายางธรรมชาติลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเหลือเพียง 69,945 ตัน แต่ทางฝ่ายผู้บริหารของภาคอุตสาหกรรมกล่าวว่า พวกเขาคาดว่ายอดการนำเข้าจะเพิ่มขึ้นอีกในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะเมื่อราคายางในตลาดโลกต่ำกว่าราคายาง RSS-4 ในอินเดีย โดยในสภาชุดที่แล้ว ทางรัฐได้ใช้เงินอุดหนุนราคายางเป็นจำนวน 3,000ล้านรูปีสำหรับเกษตรกรรายย่อย เพื่อช่วยพยุงราคายางให้อยู่ที่ 150 รูปีต่อกิโลกรัมเมื่อราคายางในตลาดโลกลดต่ำลงไปกว่า 100 รูปีต่อกิโลกรัม ในขณะเดียวกัน ทางสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) รวมถึงอินเดียมีปริมาณการผลิตยางพาราลดลงร้อยละ 0.7 ในช่วงครึ่งปีแรกนับถึงเดือนมิถุนายน และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยคาดว่าจะมีปริมาณยางพร้อมจำหน่ายอยู่ทั้งสิ้น 11.157 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1 และคาดว่าปริมาณการใช้จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน


http://rubberjournalasia.com/ที่มา ศูนย์ข้อมูลข่าวสารชาวสวนยางโดยคุณ เพิก เลิศวังพง[/size]