ผู้เขียน หัวข้อ: อุ้มสวนยางรายย่อย เนื้อที่ 10 ไร่อยู่รอดได้  (อ่าน 431 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82023
    • ดูรายละเอียด

อุ้มสวนยางรายย่อย เนื้อที่ 10 ไร่อยู่รอดได้

ไทยรัฐฉบับพิมพ์  21 มิ.ย. 2565 07:01 น.

นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย ฝ่ายปฏิบัติการ (กยท.) เผยว่า ด้วยราคายางตกต่ำในช่วงที่ผ่านมา แม้สถานการณ์ราคาจะดีขึ้นมาบ้าง จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ยางสังเคราะห์ที่มาจากปิโตรเลียมมีราคาสูงขึ้น ตลาดจึงต้องการยางพารามาทดแทน แต่อาจมีการผันผวนตามมาอีกได้ในอนาคต ประกอบกับสถานการณ์โรค ระบาดที่เกิดขึ้น ส่งผลเสียหายกับต้นยางในประเทศ ขณะเดียวกันก็เป็นการลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เพิ่มรายได้เสริมจากพืชที่ปลูกแซมยาง
กยท. จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรายย่อย เพื่อความยั่งยืนขึ้น เพื่อต้องการลดปริมาณผลผลิตยางพารา โดยการโค่นต้นยางที่มีปัญหาเรื่องโรคระบาดและยางปลดระวาง แล้วปลูกพืช หรือทำเกษตรอื่นในพื้นที่เสริม เพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง โดยบอร์ด กยท. ให้ความเห็นชอบในการดำเนินโครงการเบื้องต้นในเขตพื้นที่ที่มีโรคระบาดประมาณ 19,500 ไร่ เริ่มจากภาคใต้ตอนกลาง 5,200 ไร่ แบ่งเป็นนครศรีธรรมราช 1,200 ไร่ พังงา 200 ไร่ กระบี่ 1,000 ไร่ ภูเก็ต 100 ไร่ ตรัง 1,500 ไร่ พัทลุง 1,200 ไร่ ก่อนขยายสู่พื้นที่อื่นต่อไป

?โจทย์สำคัญคือเราจะทำอย่างไรให้เกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่ถือครอง 10 ไร่ มีรายได้พอเพียงในการดำรงชีพในวันนี้ ซึ่งจะให้มาคาดหวังกับราคายางที่จะสูงขึ้น คงไม่ถูก เพราะต้องยอมรับว่ายางเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นไปไม่ได้ที่ใครจะไปกำหนดราคาสูงหรือต่ำ การกระจายความเสี่ยงในเกษตรกรรายย่อยพื้นที่น้อย ให้มีอาชีพเสริมหรืออาชีพที่สองหลังการปลูกยางใหม่นี่แหละคือหนทางที่ดีที่สุด นอกจากรายได้เสริมในยามรอยางให้ผลผลิตแล้ว เมื่อถึงฤดูปิดกรีดยางชาวสวนก็ยังสามารถมีรายได้ โดยอาจเลือกทำปศุสัตว์ ประมง หรือปลูกพืชอื่นแซม?


สำหรับพื้นที่นำร่องที่ดำเนินการไปแล้ว มีต้นแบบคือ สวนยางของ คุณสมชาย แก้วลาย หมู่ 4 ต.ละมอ อ.นาโยง จ.ตรัง ที่ปลูกกล้วยหอมทองแซมในสวนยาง ซึ่งมีการศึกษาข้อมูลการปลูก และการตลาดไว้เป็นอย่างดี ทำให้วางแผนในการปลูกได้ถูกต้อง โดยใน 1 ไร่ ปลูกได้ 250 ต้น ปลูกห่างจากแถวยาง 1.5 เมตร มีการวางระบบน้ำ เพื่อให้กล้วยได้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ให้ปุ๋ยขี้ไก่แกลบเดือนละ 2 ครั้ง ปุ๋ยเคมีเดือนละครั้ง เน้นใช้ปุ๋ยสูตรต่ำ อาทิ สูตร 12-4-12 เพื่อไม่ให้กล้วยสุกเร็วเกินไป อันจะเป็นอุปสรรคตอนตัดขายหรือระหว่างการขนส่ง โดยข้อดีของการปลูกกล้วยในสวนยางคือ ยางจะเจริญเติบโตได้ดี เพราะได้ทั้งน้ำที่รดกล้วย รวมถึงปุ๋ยตลอด เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อได้ที่หน่วยงาน กยท.ในพื้นที่.