ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 752 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82591
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  2  ตุลาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ยังมีฝนตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 40 ของพื้นที่

2. การใช้ยาง


- สมาคมตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถใหม่เดือนกันยายนลดลงร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 479,375 คัน ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 ขณะที่อุปสงค์รถยนต์ขนาดเล็กยังอ่อนแรงเนื่องมาจากภาษีที่สูงขึ้น

3. เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงพาณิชย์เกาหลีใต้เปิดเผยว่า ยอดส่งออกเดือนกันยายนลดลงร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่ยอดนำเข้าลดลงร้อยละ 21.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี

- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ ร่วมกับไฉซิน เปิดเผยข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนเดือนกันยายนลดลงแตะ 47.2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปีครึ่ง จาก 47.3 ในเดือนสิงหาคม และภาคบริการลดลงแตะ 50.5 จุด ต่ำสุดในรอบ 14 เดือน จาก 51.5 ในเดือนสิงหาคม

- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต เดือนกันยายน ดังนี้

    ยูโรโซน ลดลงแตะ 52.0 จาก 52.3 ในเดือนสิงหาคม ไม่เปลี่ยนแปลงจากข้อมูลเบื้องต้น
    เยอรมัน ลดลงแตะ 52.3 จาก 53.3 ในเดือนสิงหาคม
    อิตาลี ลดลงแตะ 52.7 เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน จาก 53.8 ในเดือนสิงหาคม
    ฝรั่งเศส ปรับตัวขึ้นแตะ 50.6 จาก 48.3 ในเดือนสิงหาคม
    สหรัฐฯ ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายอยู่ที่ 53.1 จาก 53.0 ในเดือนสิงหาคม ขยายตัวขึ้นเล็กน้อย แต่ยังใกล้ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี เพราะได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐ อุปสงค์ที่อ่อนแอในตลาดโลก ภาวะตื่นตระหนกในตลาดการเงิน รวมทั้งการลดการลงทุนในภาคธุรกิจ

- สถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจภาคการผลิตเดือนกันยายนชะลอตัวมากที่สุดในรอบกว่า 2 ปี โดยผลสำรวจของ ISM พบว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตอยู่ที่ 50.2 ในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556 ลดลงจาก 51.1 ในเดือนสิงหาคม่อมั่นทางธุรกิจของกลุ่มประเทศผลิตของจีนกระเตื้องขึ้นเล็กราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนทั่วโลกพากันหลีกเลี่ยงการ

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 36.55 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.20 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 119.98 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.08 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤศจิกายนปิดตลาดที่ 44.74 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.35 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีรายงานว่าภาคการผลิตสหรัฐฯ และจีนอ่อนแรงลง นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันหลังจากผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มอ่อนแรงลงในปีนี้

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดที่ 47.69ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.68 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 155.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 167.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.0 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 133.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น 10,000 ราย สู่ระดับ 277,000 ราย ตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย เป็นเวลามากกว่า 6 เดือนแล้ว ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานที่สุดในรอบกว่า 4 ปี และเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานมีความแข็งแกร่ง

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า เดือนสิงหาคมการใช้จ่ายด้านก่อสร้างปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 7 ปี ปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 สู่ระดับ 1.09 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551

8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย เนื่องจากหลายพื้นที่กรีดยางได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ตลาดต่างประเทศยังคงเงียบ เพราะจีนหยุดทำการ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความต้องการซื้อเก็บเพื่อเก็งกำไรในช่วงที่ราคายางตกต่ำ

?แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน โดยมีปัจจัยลบจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาไร้ทิศทาง และเศรษฐกิจจีนชะลอตัว ประกอบกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มอ่อนแรงลงในปีนี้ ขณะเดียวกันจีนอยู่ในช่วงหยุดยาวเนื่องในวันชาติ อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา