ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2014, 11:48:04 AM »ชาวสวนยื่นคสช.เร่งแก้ยางตกต่ำ โละสต๊อก2แสนตันใช้ในประเทศ
นาย สังข์เวิน ทวดห้อย ประธานเครือข่ายชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการประชุม 5 เครือข่ายชาวสวนยางที่จันทบุรี เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมาหลังจากสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำหนักว่า ที่ประชุมมีมติเบื้องต้นให้ชาวสวนยางทุกจังหวัดยื่นหนังสือต่อศูนย์ดำรงธรรม ช่วยแก้ปัญหายางพาราราคาตกต่ำ และในส่วน 5 เครือข่ายชาวสวนยาง จะยื่นหนังสือต่อ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) วันที่ 26 ส.ค. ศกนี้
ข้อเรียกร้อง ที่จะให้รัฐแก้ คือ 1)ยางในสต๊อกรัฐ 2.1 แสนตัน เป็นมะเร็งหรือเนื้อร้ายรัฐต้องตัดวงจรออกจากตลาด โดยใช้นโยบายนำไปใช้ในประเทศให้มากที่สุด เช่น นำไปผสมยางแอสฟัลต์ทำถนน แม้ราคาจะเพิ่มจากเดิม 15% แต่มีความทนทานสูงกว่าถึง 3 เท่า ฯลฯ การที่รัฐใช้เงินซื้อยางจำนวนนี้ 2.1 หมื่นล้านบาท ในราคาประมาณ กก.ละ 120 บาท ขาดทุน 60% ตกประมาณ 1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
หากราคายางในอนาคต อันใกล้เพิ่มขึ้น กก.ละ 10 บาทจากการตัดวงจรนี้ ถือว่าประเทศได้ประโยชน์กลับมาอีกทางหนึ่ง 2)อยากทราบว่ายาง 2.1 แสนตันมีจริงแค่ไหน จึงอยากให้ตรวจสอบ 3)ขอให้รัฐทบทวนโครงการช่วยเหลือปัจจัยการผลิตไร่ละ 2,520 บาท/ปี นำมาใช้อีก แต่ต้องใช้ทุกภาคส่วน เนื่องจากสวนยางไม่มีเอกสารสิทธิ ชาวสวนทำมานาน 40-50 ปีก็มีพอสมควร
4)รัฐต้องปฏิรูปโครงสร้างตลาด กลางยางพาราให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 5)อุตสาหกรรมยางขนาดย่อมบางสถาบันที่มีความเข้มแข็ง มีออร์เดอร์มากแต่ขาดเงินลงทุนเพิ่ม รัฐควรส่งเสริมเต็มที่ โดยเร่งอนุมัติสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท ให้สถาบันที่มีความพร้อม 6)ชาวสวนยางที่มีพื้นที่น้อยกว่า 10 ไร่ มีปัญหาในการยังชีพ และมีการโค่นสวนยางไปปลูกทุเรียนในภาคตะวันออก ทั้งระยอง จันทบุรี ตราด รัฐควรจัดหาเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย เพื่อให้ชาวสวนยังชีพได้ตามปกติมากที่สุด
ประชาชาติธุรกิจ
นาย สังข์เวิน ทวดห้อย ประธานเครือข่ายชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการประชุม 5 เครือข่ายชาวสวนยางที่จันทบุรี เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมาหลังจากสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำหนักว่า ที่ประชุมมีมติเบื้องต้นให้ชาวสวนยางทุกจังหวัดยื่นหนังสือต่อศูนย์ดำรงธรรม ช่วยแก้ปัญหายางพาราราคาตกต่ำ และในส่วน 5 เครือข่ายชาวสวนยาง จะยื่นหนังสือต่อ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) วันที่ 26 ส.ค. ศกนี้
ข้อเรียกร้อง ที่จะให้รัฐแก้ คือ 1)ยางในสต๊อกรัฐ 2.1 แสนตัน เป็นมะเร็งหรือเนื้อร้ายรัฐต้องตัดวงจรออกจากตลาด โดยใช้นโยบายนำไปใช้ในประเทศให้มากที่สุด เช่น นำไปผสมยางแอสฟัลต์ทำถนน แม้ราคาจะเพิ่มจากเดิม 15% แต่มีความทนทานสูงกว่าถึง 3 เท่า ฯลฯ การที่รัฐใช้เงินซื้อยางจำนวนนี้ 2.1 หมื่นล้านบาท ในราคาประมาณ กก.ละ 120 บาท ขาดทุน 60% ตกประมาณ 1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
หากราคายางในอนาคต อันใกล้เพิ่มขึ้น กก.ละ 10 บาทจากการตัดวงจรนี้ ถือว่าประเทศได้ประโยชน์กลับมาอีกทางหนึ่ง 2)อยากทราบว่ายาง 2.1 แสนตันมีจริงแค่ไหน จึงอยากให้ตรวจสอบ 3)ขอให้รัฐทบทวนโครงการช่วยเหลือปัจจัยการผลิตไร่ละ 2,520 บาท/ปี นำมาใช้อีก แต่ต้องใช้ทุกภาคส่วน เนื่องจากสวนยางไม่มีเอกสารสิทธิ ชาวสวนทำมานาน 40-50 ปีก็มีพอสมควร
4)รัฐต้องปฏิรูปโครงสร้างตลาด กลางยางพาราให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 5)อุตสาหกรรมยางขนาดย่อมบางสถาบันที่มีความเข้มแข็ง มีออร์เดอร์มากแต่ขาดเงินลงทุนเพิ่ม รัฐควรส่งเสริมเต็มที่ โดยเร่งอนุมัติสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท ให้สถาบันที่มีความพร้อม 6)ชาวสวนยางที่มีพื้นที่น้อยกว่า 10 ไร่ มีปัญหาในการยังชีพ และมีการโค่นสวนยางไปปลูกทุเรียนในภาคตะวันออก ทั้งระยอง จันทบุรี ตราด รัฐควรจัดหาเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย เพื่อให้ชาวสวนยังชีพได้ตามปกติมากที่สุด
ประชาชาติธุรกิจ