ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 08, 2014, 08:43:12 AM »(ล่าสุด)"ไทยฮั้ว"ฟันธงปีหน้ายางขาขึ้น จับมือจีนตั้งรง.ผลิตยางรถยนต์
กลุ่มไทยฮั้วยางพาราชี้ไตรมาส 3 ปีนี้ราคายางต่ำสุดแล้ว มั่นใจปีหน้าราคาพุ่ง จากเศรษฐกิจโลกดีขึ้น เผยบุกอุตสาหกรรมยางปลายน้ำ ประเดิมทุ่ม 700 ล้านผลิตยางรถยนต์ร่วมกับจีน ในนิคม "หลักชัยเมืองยาง" ที่ระยอง
ดร.หลักชัย กิตติพล ประธานบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคายางพาราว่า ครึ่งปีหลังประมาณไตรมาส 3 นี้ราคายางจะต่ำสุด แต่หลังเดือนกันยายนนี้ จะมีรัฐบาลใหม่ มีรัฐมนตรีใหม่มารับผิดชอบเต็มตัว จะทำให้สถานการณ์ยางดีขึ้น ปลายปีนี้น่าจะได้เห็นราคายางแผ่นที่ กก.ละ 60-65 บาท ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องการ ขณะที่ปีหน้าราคายางจะดีขึ้นจากปัจจัย
(1) ผู้ผลิตยางรถยนต์ในไตรมาส 1-2 ที่ผ่านมามีกำไร 23-38% จึงเป็นสัญญาณว่าปีหน้าจะดีขึ้น เพราะปี 2011 อุตสาหกรรมปลายน้ำอยู่ไม่ได้ เพราะยางราคาพุ่งสูง แต่ต้นน้ำคือชาวสวนรวย ขณะที่ปีนี้อุตฯปลายน้ำรวย ชาวสวนจนอย่างนี้ไม่ยั่งยืน จะต้องมีการปรับตัว
(2) ภาพรวมเศรษฐกิจน่าจะอยู่ได้ ทั้งสหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) จีน และญี่ปุ่น มีการใช้ยางเพิ่มขึ้นทุกปี คาดว่าปีนี้ปริมาณความต้องการใช้ยางรถยนต์ทั่วโลกสูงถึง 85 ล้านคัน ปีหน้า 90 ล้านคัน และอีก 2 ปีจะเพิ่มเป็น 100 ล้านคัน แม้การใช้ยางเพิ่มขึ้น แต่ราคาคงไม่พุ่งพรวดพราด
"ปีนี้ความต้องการยางทั่วโลกเพิ่ม 3.5% แต่ซัพพลายเพิ่ม 5.5% ช่องว่างยังห่างกัน สินค้ามีมาก ผู้ซื้อเลยยั้ง ๆ จากที่จะซื้อล่วงหน้า 2 เดือนก็เหลือ 2 วัน ไม่สต๊อกสินค้ากัน เพราะสต๊อกแล้วราคาลงหรือแบกภาระดอกเบี้ยมาก หากมีสัญญาณจะขึ้น ก็จะออกมาซื้อกันมาก
"สำหรับแผนการดำเนินงานนั้น ดร.หลักชัยกล่าวต่อว่า ปกติในแต่ละปี บริษัทจะลงทุน 500-1,000 ล้านบาท ที่ผ่านมาบริษัทในเครือได้สัมปทานปลูกยางในเวียงจันทน์ บอลิคำไซ คำม่วน สะหวันนะเขต และสาละวิน สปป.ลาว 1 แสนไร่ช่วงปี"49 ปลูกไปแล้ว 5 หมื่นไร่ จะเริ่มกรีดในปีนี้ โดยจะลงทุนตั้งโรงงานผลิตยางแท่งมูลค่า 200 ล้านบาท กำลังการผลิต 2 หมื่นตัน/ปี และในกัมพูชาปลูกที่เมืองอันลองเวง จังหวัดอุดรมีชัยอยู่ห่างจากด่านช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ 20 กม. พื้นที่ 1 แสนไร่ ปลูกไปแล้ว 5 หมื่นไร่ ปริมาณฝนค่อนข้างดีมาก จะกรีดได้ในปี"60-61 และจะลงทุนสร้างโรงงานผลิตยางแท่งในปี"61 มูลค่า 400 ล้านบาท กำลังการผลิต 5 หมื่นตัน/ปี
ส่วนในไทยได้ลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตยางแท่งที่ยโสธร 400 ล้านบาท ขนาดกำลังการผลิต 6 หมื่นตัน/ปี จะผลิตยางแท่งได้ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมปีหน้า รวมทั้งปลูกยางที่จังหวัดอุดรธานี สกลนคร บึงกาฬ นครพนม และพิษณุโลก 3 หมื่นกว่าไร่
สำหรับผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา บริษัทส่งออกยางมูลค่า 1.8 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 2.5 หมื่นล้านบาท เพราะคาดว่าจะได้ราคาเฉลี่ยตันละ 2,500 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ กก.ละ 80 บาท แต่ได้เพียง กก.ละ 60 บาทเศษเท่านั้น ด้านปริมาณส่งออกเท่ากับ 2 แสนตัน แยกเป็นยางแท่ง 1 แสนตัน ที่เหลือเป็นยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้นและอื่น ๆ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ปริมาณเพิ่มขึ้น 5%
มูลค่าลดลง 20% คาดว่าปีนี้จะมียอดขาย 3 หมื่นล้านบาทเศษ ปริมาณ 4 แสนตัน ส่วนปี"58 ยอดขายจะเพิ่มขึ้นเป็น 5 หมื่นล้านบาท ปริมาณ 6 แสนตันทางด้านธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมนั้น ดร.หลักชัยกล่าวว่า หลังจากนิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง (ห่างตำบลบ้านเพ 8 กม.) จังหวัดระยองซึ่งเป็นกิจการส่วนตัวที่มีพื้นที่ 2,211 ไร่ ได้ผ่านการอนุมัติด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เมื่อเดือนกันยายน"56 โดยใช้เวลาพิจารณานานถึง 2 ปีครึ่ง ล่าสุดบริษัท เซ็นจูรี่ จำกัดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนจะลงทุนตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์ประเภทรถบรรทุก, รถสิบล้อและรถบัสยี่ห้อเซ็นจูรี่และแลนด์เซลส์เฟสแรกจำนวน 5 ล้านเส้นต่อปีในวงเงิน 3,500 ล้านบาท ทั้งนี้กลุ่มไทยฮั้วฯจะถือหุ้นในนามส่วนตัวประมาณ 20% หรือประมาณ 700 ล้านบาท การก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี"58 และเฟส 2 จะลงทุนอีก 3,500 ล้านบาท การก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2016 ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มไทยฮั้วฯได้ร่วมลงทุนกับเซ็นจูรี่ที่จีนมาแล้วประมาณ 5%ในเดือนตุลาคมนี้ กลุ่มไทยฮั้วฯจะเจรจากับรัฐวิสาหกิจจีนเพื่อลงทุนตั้งโรงงานผลิตยางรถเก๋ง วงเงินลงทุน 5,000 ล้านบาท โดยไทยฮั้วฯจะร่วมลงทุน 20% หรือประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งการเข้ามาลงทุนผลิตยางรถยนต์ของจีนครั้งนี้ เพื่อรองรับกับการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ (5 กันยายน 2557)
กลุ่มไทยฮั้วยางพาราชี้ไตรมาส 3 ปีนี้ราคายางต่ำสุดแล้ว มั่นใจปีหน้าราคาพุ่ง จากเศรษฐกิจโลกดีขึ้น เผยบุกอุตสาหกรรมยางปลายน้ำ ประเดิมทุ่ม 700 ล้านผลิตยางรถยนต์ร่วมกับจีน ในนิคม "หลักชัยเมืองยาง" ที่ระยอง
ดร.หลักชัย กิตติพล ประธานบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคายางพาราว่า ครึ่งปีหลังประมาณไตรมาส 3 นี้ราคายางจะต่ำสุด แต่หลังเดือนกันยายนนี้ จะมีรัฐบาลใหม่ มีรัฐมนตรีใหม่มารับผิดชอบเต็มตัว จะทำให้สถานการณ์ยางดีขึ้น ปลายปีนี้น่าจะได้เห็นราคายางแผ่นที่ กก.ละ 60-65 บาท ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องการ ขณะที่ปีหน้าราคายางจะดีขึ้นจากปัจจัย
(1) ผู้ผลิตยางรถยนต์ในไตรมาส 1-2 ที่ผ่านมามีกำไร 23-38% จึงเป็นสัญญาณว่าปีหน้าจะดีขึ้น เพราะปี 2011 อุตสาหกรรมปลายน้ำอยู่ไม่ได้ เพราะยางราคาพุ่งสูง แต่ต้นน้ำคือชาวสวนรวย ขณะที่ปีนี้อุตฯปลายน้ำรวย ชาวสวนจนอย่างนี้ไม่ยั่งยืน จะต้องมีการปรับตัว
(2) ภาพรวมเศรษฐกิจน่าจะอยู่ได้ ทั้งสหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) จีน และญี่ปุ่น มีการใช้ยางเพิ่มขึ้นทุกปี คาดว่าปีนี้ปริมาณความต้องการใช้ยางรถยนต์ทั่วโลกสูงถึง 85 ล้านคัน ปีหน้า 90 ล้านคัน และอีก 2 ปีจะเพิ่มเป็น 100 ล้านคัน แม้การใช้ยางเพิ่มขึ้น แต่ราคาคงไม่พุ่งพรวดพราด
"ปีนี้ความต้องการยางทั่วโลกเพิ่ม 3.5% แต่ซัพพลายเพิ่ม 5.5% ช่องว่างยังห่างกัน สินค้ามีมาก ผู้ซื้อเลยยั้ง ๆ จากที่จะซื้อล่วงหน้า 2 เดือนก็เหลือ 2 วัน ไม่สต๊อกสินค้ากัน เพราะสต๊อกแล้วราคาลงหรือแบกภาระดอกเบี้ยมาก หากมีสัญญาณจะขึ้น ก็จะออกมาซื้อกันมาก
"สำหรับแผนการดำเนินงานนั้น ดร.หลักชัยกล่าวต่อว่า ปกติในแต่ละปี บริษัทจะลงทุน 500-1,000 ล้านบาท ที่ผ่านมาบริษัทในเครือได้สัมปทานปลูกยางในเวียงจันทน์ บอลิคำไซ คำม่วน สะหวันนะเขต และสาละวิน สปป.ลาว 1 แสนไร่ช่วงปี"49 ปลูกไปแล้ว 5 หมื่นไร่ จะเริ่มกรีดในปีนี้ โดยจะลงทุนตั้งโรงงานผลิตยางแท่งมูลค่า 200 ล้านบาท กำลังการผลิต 2 หมื่นตัน/ปี และในกัมพูชาปลูกที่เมืองอันลองเวง จังหวัดอุดรมีชัยอยู่ห่างจากด่านช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ 20 กม. พื้นที่ 1 แสนไร่ ปลูกไปแล้ว 5 หมื่นไร่ ปริมาณฝนค่อนข้างดีมาก จะกรีดได้ในปี"60-61 และจะลงทุนสร้างโรงงานผลิตยางแท่งในปี"61 มูลค่า 400 ล้านบาท กำลังการผลิต 5 หมื่นตัน/ปี
ส่วนในไทยได้ลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตยางแท่งที่ยโสธร 400 ล้านบาท ขนาดกำลังการผลิต 6 หมื่นตัน/ปี จะผลิตยางแท่งได้ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมปีหน้า รวมทั้งปลูกยางที่จังหวัดอุดรธานี สกลนคร บึงกาฬ นครพนม และพิษณุโลก 3 หมื่นกว่าไร่
สำหรับผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา บริษัทส่งออกยางมูลค่า 1.8 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 2.5 หมื่นล้านบาท เพราะคาดว่าจะได้ราคาเฉลี่ยตันละ 2,500 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ กก.ละ 80 บาท แต่ได้เพียง กก.ละ 60 บาทเศษเท่านั้น ด้านปริมาณส่งออกเท่ากับ 2 แสนตัน แยกเป็นยางแท่ง 1 แสนตัน ที่เหลือเป็นยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้นและอื่น ๆ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ปริมาณเพิ่มขึ้น 5%
มูลค่าลดลง 20% คาดว่าปีนี้จะมียอดขาย 3 หมื่นล้านบาทเศษ ปริมาณ 4 แสนตัน ส่วนปี"58 ยอดขายจะเพิ่มขึ้นเป็น 5 หมื่นล้านบาท ปริมาณ 6 แสนตันทางด้านธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมนั้น ดร.หลักชัยกล่าวว่า หลังจากนิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง (ห่างตำบลบ้านเพ 8 กม.) จังหวัดระยองซึ่งเป็นกิจการส่วนตัวที่มีพื้นที่ 2,211 ไร่ ได้ผ่านการอนุมัติด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เมื่อเดือนกันยายน"56 โดยใช้เวลาพิจารณานานถึง 2 ปีครึ่ง ล่าสุดบริษัท เซ็นจูรี่ จำกัดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนจะลงทุนตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์ประเภทรถบรรทุก, รถสิบล้อและรถบัสยี่ห้อเซ็นจูรี่และแลนด์เซลส์เฟสแรกจำนวน 5 ล้านเส้นต่อปีในวงเงิน 3,500 ล้านบาท ทั้งนี้กลุ่มไทยฮั้วฯจะถือหุ้นในนามส่วนตัวประมาณ 20% หรือประมาณ 700 ล้านบาท การก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี"58 และเฟส 2 จะลงทุนอีก 3,500 ล้านบาท การก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2016 ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มไทยฮั้วฯได้ร่วมลงทุนกับเซ็นจูรี่ที่จีนมาแล้วประมาณ 5%ในเดือนตุลาคมนี้ กลุ่มไทยฮั้วฯจะเจรจากับรัฐวิสาหกิจจีนเพื่อลงทุนตั้งโรงงานผลิตยางรถเก๋ง วงเงินลงทุน 5,000 ล้านบาท โดยไทยฮั้วฯจะร่วมลงทุน 20% หรือประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งการเข้ามาลงทุนผลิตยางรถยนต์ของจีนครั้งนี้ เพื่อรองรับกับการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ (5 กันยายน 2557)