ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 09, 2014, 08:29:08 PM »


   คสช.นำร่องอนุมัติงบ 835 ล้าน รับซื้อยางพาราผสมยางมะตอยทำถนน จว.ชายแดนใต้ ช่วยเกษตรกร     




    
          หลังราคายางพาราตกต่ำต่อเนื่องในรอบเดือน จนชาวสวนยางพาราได้รับผลกระทบและมีการเรียกร้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หามาตรการช่วยเหลือพยุงราคาช่วยเหลือเกษตรชาวสวนยาง


          ล่าสุดทาง คสช.ได้อนุมัติงบประมารในการช่วยเหลือเบื้องต้น เพื่อรับชื้อยางพารานำไปใช้เป็นส่วนผสมผลิตยางมะตอยสร้างถนนในพื้นที่ จ.ปัตตานี จ.ยะลา นราธิวาส ขั้นต้น 37สาย เพื่อนนำร่อง โดยหลังประชุมคณะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหา จว.ชายแดนใต้ พล.ท.วลิต โรจนภักดี แม่ทัพภาคที่ 4  มอบหมายมให้ พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 สน. เป็นตัวแทนชี้แจ้งความคืบหน้าผลการดำเนินการช่วยเหลือ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ


          พ.อ.ปราโมทย์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 สน. กล่าวว่าในเรื่องนี้นั้นเป็นไปตามความต้องการของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอ. จ.สงขลา ในเรื่องของการละเลยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องละเลยปล่อยให้ถนนหนทางเสียหายขาดการซ่อมแซมมายาวยาน


          โดยล่าสุดคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้อนุมัติโครงการซ่อมบำรุงถนนหนทางที่เสียหายที่ไม่ได้รับการดูแลมายาวนานแล้ว ขั้นต้นจำนวนทั้งสิ้น 37 สาย ทั่วทั้งพื้นที่ จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส  ระยะทางประมาณ 164 กิโลเมตร วงประมาณ 835 ล้านบาทเศษ โดยมอบหมายให้ศูนย์อำนวยการบริหาร จว.ชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นหน่วยเจ้าของโครงการและทาง กอ.รมน.ภ.4 สน.ให้ทางหน่วยทหารช่างเป็นผู้ดำเนินการรับผิดชอบการก่อเสร้าง


          สำหรับการก่อสร้างเส้นทางทั้ง 37 สาย  แบ่งเป็นพื้นที่ จ.ยะลา 8 อำเภอ. 8  สาย รับผิดชอบโดยกองทัพภาคที่ 3  พื้นที่ จ.ปัตตานี จำนวน 12 อำเภอ 12  สาย รับผิดชอบโดยกองทัพภาคที่ 2 พื้นที่ จ.นราธิวาสจำนวน 13 อำเภอ  13 สาย รับผิดชอบโดยกองทัพภาคที่ 1 และกองทัพภาคที่ 4  ส่วนใน 4 อำเภอของ จ.สงขลา นั้นรับผิดชอบโดยทหารช่าง


          โดยรูปแบบในการก่อสร้างจะใช้วิธีการนำยางพาราผสมเป็นยางมอตอยใช้ปูพื้นผิวถนน ซึ่งจากการวิวัยของสถาบันวิจัยการยาง กรมวิชาการเกษตรได้ทำการทดสอบและทดลองมาแล้ว พบว่าในการนำยางพารามาเป็นส่วนผสมจะมีความทนทานมากกว่ายางมะตอยปกติถึง 9.9 เท่า นอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนราคายางตกต่ำให้กับพี่น้องชาวสวนยางแล้ว ยังจะสามารถบรรเทาช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร โดยเฉพาะเรื่องราคายางตกต่ำในขณะนี้ได้ในระดับหนึ่ง


           ส่วนความคืบหน้าในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุดเพิ่งมีมติในการประชุมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหา จว.ชายแดนภาคใต้ เห็นชอบให้เร่งมีการดำเนินการโดยให้กรมทหารช่างเร่งรัดประสานกับสำนักงบประมาณให้มีการเร่งรัดจัดสรรงบประมาณอย่างเร่งด่วน ในการเข้าไปดำเนินการตามแผนที่ได้มีการกำหนอจะเริ่มการก่อสร้างในไม่กี่อาทิตย์นี้
 
    
 
ที่มา : มติชน