ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 25, 2014, 08:54:32 AM »

รัฐเดินหน้า 'รับเบอร์ซิตี้' รองรับการพัฒนาครบวงจร


"จักรมณฑ์" สั่งเดินหน้าเร่งสร้างนิคมอุตสาหกรรมยาง รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยาง กนอ.ก่อสร้างแล้วเสร็จปี 60 ขณะที่สภาเกษตรกรฯ เสนอใช้ 3 แนวทาง แก้ปัญหาราคายางตกต่ำ แนะหน่วยงานรัฐเพิ่มการใช้ยางในประเทศ ชี้ช่องเสริมรายได้ชาวสวนยางลดความเสี่ยงด้านราคา


นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะ ได้เดินทางไปยังใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มอบนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ พร้อมฟังการชี้แจงความคืบหน้าการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมยางหรือรับเบอร์ซิตี้ ที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อเร็วๆ นี้


นายจักรมณฑ์ กล่าวว่า โครงการเมืองยาง ถือว่าเป็นประโยชน์ เพราะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างมูลค่าเพิ่ม อุตสาหกรรมยางพารา ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมฐานรายได้ของประเทศ เป็นการส่งเสริมการลงทุน และพัฒนาปัจจัยแวดล้อม เอื้อต่อการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม ทั้งยังแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะที่การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนภาคใต้ ก็จะเชื่อมโยง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


กนอ.คาดก่อสร้างเสร็จปี 60


ขณะที่ นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ยางพารา อยู่ระหว่างพัฒนาพื้นที่ที่เหลือประมาณ 755 ไร่ เป็นนิคมอุตสาหกรรมเมืองยาง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมยางพารา มีการผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราในท้องตลาดให้สูงขึ้น คาดว่าจะก่อสร้างเดือน ต.ค. 2558 แล้วเสร็จในปี 2560


"นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้สามารถรองรับอุตสาหกรรมยางพาราอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการทำให้ราคายางมีเสถียรภาพ ทดแทนนโยบายแทรกแซงราคายางพาราตกต่ำ สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจรากยางพารา ด้วยการเพิ่มการใช้วัตถุดิบและมูลค่าเพิ่มในประเทศ จากบทบาทผู้ผลิตวัตถุดิบไปสู่การเป็นผู้ใช้รายใหญ่ที่สุดของโลก รวมทั้งเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมสำหรับผลิตยางอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ยางสำหรับรถยนต์ ท่อยางแปรรูป น้ำข้น แปรรูปไม้ยางพารา"


สภาเกษตรฯ ชง 3 แนวทางแก้ยางตก


ขณะเดียวกัน วานนี้ (23 ก.ย.) นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า เร็วๆ นี้ จะเสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาราคายางอย่างเร่งด่วน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ และยกระดับราคายางพาราให้มีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน โดยใช้ 3 แนวทางหลักในการดำเนินการ 1.เพิ่มปริมาณการใช้ยางธรรมชาติในประเทศมากขึ้น 2.สนับสนุนสถาบันเกษตรกรให้แปรรูปผลิตภัณฑ์ยางเพื่อเพิ่มมูลค่า และ 3.สร้างรายได้เสริมในสวนยางเพื่อลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพ


"สภาเกษตรกรฯ ต้องการให้รัฐบาล เร่งส่งเสริมการใช้ยางธรรมชาติภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยให้หน่วยงานของรัฐหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ผลิตในประเทศ เช่น กระทรวงสาธารณสุข ควรใช้ถุงมือยางที่ผลิตในประเทศเพื่อลดการนำเข้า หรือใช้ยางรองก้นบ่อน้ำขนาดเล็กในโครงการของกรมพัฒนาที่ดินเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึมในช่วงหน้าแล้งได้ โดย 1 บ่อ ใช้ยางประมาณ 1,260 กิโลกรัม และควรมีนโยบายส่งเสริมการใช้ยางพาราผสมยางมะตอยราดถนน ซึ่งเป็นแนวทางที่จะช่วยเพิ่มปริมาณการใช้ยางธรรมชาติในประเทศได้จำนวนมหาศาล โดยไม่ต้องดึงนักลงทุน ต่างชาติเข้ามาตั้งโรงงานแปรรูปในประเทศ" นายธีรพงศ์ กล่าว


นายธีรพงศ์ กล่าวว่า ภาครัฐควรเร่งสนับสนุนงบประมาณแก่สถาบันเกษตรกร ทั้งกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน เพื่อจัดตั้งโรงงานแปรรูปยางขั้นต้นในทุกภูมิภาคอย่างน้อย 10 โรงงาน พร้อมส่งเสริมให้มีการรวบรวมผลผลิตจากสมาชิกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อเพิ่มมูลค่า ทั้งยางแผ่นรมควันอัดก้อนหรือยางแท่ง แล้วเก็บสต็อกไว้รอจำหน่ายในช่วงที่ราคาเริ่มสูงขึ้น


แนะสร้างอาชีพเสริมในสวนยาง


นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ต้องเร่งสร้างอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรชาวสวนยางเพื่อเสริมสร้างรายได้อย่างเร่งด่วน โดยส่งเสริมให้ปลูกพืชร่วมและพืชแซมในสวนยางตามความต้องการของเกษตรกรเช่นพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ได้แก่พืชสมุนไพร สับปะรด พืชผักต่างๆ หรือส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง เป็นช่องทางช่วยสร้างรายได้เสริมหล่อเลี้ยงครอบครัวได้ ทำให้เกษตรกรฟื้นตัวและสามารถอยู่รอดได้ในสภาวะราคายางตกต่ำ


"สภาเกษตรกรฯ ได้เตือนผู้ปลูกยางโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ให้เร่งปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาราคายางตกต่ำ โดยพัฒนาระบบการผลิต ปรับลดต้นทุนพร้อมลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี ทำอาชีพเสริมในสวนยาง ลดความเสี่ยงเรื่องตลาดและราคา" นายธีรพงศ์ กล่าว


สำหรับราคายางพาราที่มีการซื้อขายที่ตลาดสงขลา วานนี้ (23 ก.ย.) ยางแผ่นดิบอยู่ที่กิโลกรัมละ 46.55 บาท ยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่กิโลกรัมละ 48.88 บาท น้ำยางสด ณ โรงงาน อยู่ที่กิโลกรัมละ 45 บาท ส่วนเศษยางอยู่ที่กิโลกรัมละ 41.50 บาท




Souce: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ