ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2014, 10:28:20 AM »

'ปีติพงศ์' บินถกมาเลย์-อินโดฯ คาดปีหน้าดันยางพุ่งโลละ 80


เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCO) กล่าวว่า วันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ จะมีการประชุมรัฐมนตรีไตรภาคียางพารา ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ของประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตยางพารารวมกว่า 70% ของผลผลิตโลก เพื่อหาทางออกร่วมกันทำให้ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้น พร้อมกับเชิญประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม เข้าประชุมด้วย

นายเยี่ยมกล่าวว่า วันที่ 17-18 พฤศจิกายน จะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่ระดับสูง เพื่อหาข้อสรุปมาตรการช่วยเหลือชาวสวนยาง และประเทศผู้ผลิตยาง สำหรับข้อเสนอที่ไทยจะนำเสนอ คือ 1.จัดแพคเกจสินเชื่อ เพื่อให้มีการบริหารจัดการสต๊อกยางพาราให้เพียงพอ ซื้อและขายในเวลาเหมาะสม โดยการบริหารจัดการสต๊อกยางพาราเป็นหน้าที่ของเอกชนหรือผู้ส่งออก แต่รัฐบาลจะเป็นผู้สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเก็บสต๊อกยางพาราไว้ขายในเวลาที่ยางพาราออกหรือกรีดน้อย 2.ร่วมกันจัดตั้งตลาดยางพาราภูมิภาคอาเซียน โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศไทย โดยรูปแบบจะเป็นการซื้อขายจริง และส่งมอบยางพารา ซึ่งรูปแบบของตลาดกลางยางพาราภูมิภาคต้องร่วมกัน ว่ารูปแบบของตลาดจะเป็นอย่างไร เพื่อให้กลไกสามารถขับเคลื่อนราคายางพาราให้เดินหน้าได้

"แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2558 ปรับตัวดี น่าเป็นเหตุทำให้ราคาของยางพาราในไตรมาส 1 ปี 2558 น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ 70 บาท/กก. และหากได้มาตรการที่หารือร่วมกันระหว่างผู้ผลิตยางพาราของโลก น่าจะผลักดันให้ราคาสูงขึ้นได้ถึง 80 บาท/กก. ในปีหน้าแน่นอน" นายเยี่ยมกล่าว

นายสมปอง อินทร์ทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง และโครงการสนับสนุน สินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย เพื่อประกอบอาชีพเสริมว่า มีเกษตรกรแจ้งเข้าร่วมโครงการและส่งรายชื่อให้คณะทำงานตรวจสอบสิทธิระดับตำบลแล้ว 51,324 ครัวเรือน พื้นที่ 53,475 แปลง หรือคิดเป็น 6.03% ของเป้าหมาย 850,000 ครัวเรือน โดยจะเริ่มจ่ายเงินช่วยเหลือชดเชยไร่ละ 1,000 บาท ในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ ในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา และตรัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อำนาจเจริญ และภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี


Souce: มติชน