ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 26, 2014, 02:00:30 PM »

ก.เกษตรฯ ปูพรม 4 จังหวัดภาคเหนือ ดึงเทคโนโลยี GIS สำรวจข้อมูลยางพาราให้เป็นเอกภาพ




สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -26 ธ.ค. 57 13:23 น.


สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 1 ลงพื้นที่สำรวจการเพาะปลูกยางพาราในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ดึงเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศหรือระบบ GIS สำรวจข้อมูลในระดับอำเภอ สู่การจัดทำข้อมูลเอกภาพที่มีความถูกต้อง และแม่นยำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการติดตามสถานการณ์ในอนาคต
 
  ??นายอนุสรณ์  พรชัย  ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเกษตรเขต 1 เชียงใหม่ (สศข.1) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงเนื้อที่เพาะปลูกยางพาราในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ว่า ในปี 2557 ยางพาราที่อายุ 5 ปีขึ้นไป มีเนื้อที่ยืนต้นจำนวน 81,757 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 11,067 ไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16

?? ดังนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงในพื้นที่มากที่สุด และเพื่อการจัดทำข้อมูลเอกภาพร่วมกับจังหวัดในปี 2558 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 1 จึงลงพื้นที่ตรวจสอบเนื้อที่การเพาะปลูกยางพารา ในพื้นที่ 4 จังหวัดดังกล่าว โดยนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการสำรวจ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เนื้อที่เพาะปลูกโดยใช้ข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) ที่ต้องอาศัยข้อมูลเชิงพื้นที่จากภาพถ่ายทางอากาศร่วมกับภาพถ่ายดาวเทียมเป็นเครื่องมือในการจัดทำข้อมูล เช่น การใช้แผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีปี 2545 มาตราส่วน 1:4000 ทำการจำแนกข้อมูลพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน

 ?? ทั้งนี้ แผนที่ภาพถ่ายดังกล่าว ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ที่มีความละเอียดสูง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนบริหารจัดการเชิงพื้นที่ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งการตรวจสอบเนื้อที่เพาะปลูกยางพาราด้วยระบบ GIS จะทำให้ทราบถึงข้อมูลเนื้อที่ยืนต้นของยางพาราที่อายุ 5 ปีขึ้นไปว่ามีปริมาณเท่าใด รวมทั้งยังสามารถระบุพื้นที่เพาะปลูกยางพาราแหล่งสำคัญๆ ที่กระจายอยู่ตามท้องที่อำเภอต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการติดตามสถานการณ์การเพาะปลูกยางพาราในปีต่อๆ ไปได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ซึ่งท่านที่สนใจข้อมูลสามารถสอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตรเขต 1 เชียงใหม่ โทร. 053 121318-9   




      เรียบเรียง[/size] โดย ชุติมา อภิชัยสุขสกุล 
[/size]                อีเมล์. reporter@efinancethai.com อนุมัติ    โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน  
[/pre]