ผู้เขียน หัวข้อ: เผยใช้ยางพาราทำถนนยืดอายุใช้งานไปอีก2ปี ใช้รองรางรถไฟก็ได้  (อ่าน 1083 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88282
    • ดูรายละเอียด

เผยใช้ยางพาราทำถนนยืดอายุใช้งานไปอีก2ปี ใช้รองรางรถไฟก็ได้
วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557 เวลา 13:35:38 น.
 




 
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ วันที่ 25 กันยายนว่า มาใช้ยางพาราสร้างถนนกันเถอะ


เมื่อวานนี้ (24 กันยายน 2557) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ จากหลายจังหวัดในภาคใต้ นำโดยนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรค ได้เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ โดยได้เสนอ 5 มาตรการเร่งด่วน ซึ่ง 2 ใน 5 มาตรการดังกล่าว เป็นการเสนอให้นำยางพารามาใช้เป็นส่วนประกอบในการก่อสร้างถนนและทางรถไฟ
วันนี้ (25 กันยายน 2557) ผมขอเสนอรายละเอียดในการใช้ยางพาราเป็นส่วนประกอบในการก่อสร้างถนนและทางรถไฟดังนี้


1. การก่อสร้างถนนลาดยาง


ในปัจจุบันมีการใช้ยางมะตอย (แอสฟัลต์) ในการก่อสร้างและบำรุงรักษาถนนลาดยางทั่วประเทศประมาณปีละ 7 แสนตัน จากการที่กรมทางหลวงได้ทำการศึกษาวิจัยการใช้ยางพาราผสมกับยางมะตอย พบว่าสัดส่วนยางพาราที่เหมาะสมที่สุดคือ 5% หมายความว่าใช้ยางพารา (คิดเป็นน้ำหนักแห้ง) 5% ผสมกับยางมะตอย 95% ซึ่งกรมทางหลวงได้ทดลองใช้ยางพารา (คิดเป็นน้ำหนักแห้ง) 5% ในการลาดยางถนนบางสาย ปรากฏว่าได้ผลดี ถนนมีความทนทานมากขึ้น และผิวจราจรลื่นน้อยลง แต่อย่างไรก็ตาม กรมทางหลวงกำลังทำการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อดูว่าจะสามารถใช้ยางพารา (คิดเป็นน้ำหนักแห้ง) ได้มากกว่า 5 % หรือไม่




การใช้ยางพาราในการก่อสร้างและบำรุงรักษาถนนทั่วประเทศในสัดส่วน 5% หรือคิดเป็นยางพาราแห้งจำนวน 35,000 ตัน (5% x 700,000 ตัน) หรือคิดเป็นน้ำยางพาราได้ประมาณ 58,500 ตันนั้น นับว่าเป็นการช่วยชาวสวนยางได้ทางหนึ่ง
จากข้อมูลของกรมทางหลวงพบว่า การใช้ยางพาราผสมกับยางมะตอยจะทำให้ค่าก่อสร้างถนนลาดยางมีราคาแพงขึ้นประมาณ 7% ยกตัวอย่างเช่น ค่าก่อสร้างถนนลาดยาง 2 ช่องจราจร ราคาประมาณ 25 ล้านบาทต่อกิโลเมตร หากใช้ยางพาราผสมกับยางมะตอยจะทำให้ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 26.8 ล้านบาทต่อกิโลเมตร


แม้ว่าการใช้ยางพาราผสมกับยางมะตอยจะทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ยางพารามีข้อดีที่ทำให้ถนนมีอายุการใช้งานนานขึ้น 2 ปี จากเดิมที่มีอายุการใช้งาน 7 ปี เพิ่มขึ้นเป็น 9 ปี ทำให้สามารถยืดเวลาการบำรุงรักษาถนนออกไปได้อีก 2 ปี


2. การก่อสร้างทางรถไฟ


ยางพาราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างทางรถไฟได้ เช่น ใช้เป็นแผ่นยางรองรางรถไฟเพื่อลดการสั่นสะเทือนและลดแรงกระแทก และใช้ทำหมอนรถไฟ ซึ่งในขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยกำลังทำการศึกษาวิจัยอยู่ โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


จำนวนแผ่นยางรองรางรถไฟที่ใช้ต่อความยาวของรางรถไฟ 1 กิโลเมตร เท่ากับ 3,334 แผ่น น้ำหนักต่อแผ่นประมาณ 220 กรัม ส่วนจำนวนหมอนรถไฟที่ใช้ต่อความยาวของรางรถไฟ 1 กิโลเมตร เท่ากับ 1,667 ท่อน น้ำหนักต่อท่อนประมาณ 80 กิโลกรัม (กรณีใช้ยาง)


รัฐบาลนี้ตั้งใจที่จะก่อสร้างรถไฟทางคู่ (สร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้นอีก 1 ทาง จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 1 ทาง) จำนวน 6 เส้นทาง คิดเป็นระยะทางรวม 886 กิโลเมตร ดังนั้น จะต้องใช้วัสดุทำแผ่นยางรองรับรางรถไฟคิดเป็นน้ำหนัก 650 ตัน และทำหมอนรถไฟคิดเป็นน้ำหนัก 118,157 ตัน แต่จะสามารถใช้ยางพาราได้จำนวนเท่าใดนั้น ต้องรอผลการศึกษาวิจัยจากการรถไฟฯ


ทั้งหมดนี้ ขอให้รัฐบาลเร่งสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้หาทางนำยางพารามาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างถนนและทางรถไฟเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยชาวสวนยางที่กำลังประสบปัญหาราคายางตกต่ำอยู่ในขณะนี้