ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวยางเสนอ 8 ปัญหาจี้รัฐแก้ไข พ่วงสางนโยบายอุ้มเกษตรกร  (อ่าน 1131 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88315
    • ดูรายละเอียด
ชาวยางเสนอ 8 ปัญหาจี้รัฐแก้ไข พ่วงสางนโยบายอุ้มเกษตรกร


1 ธ.ค. 57 นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิด เผยภายหลัง สภาการยางแห่งประเทศไทย และเครือข่ายยางทั้งระบบ นำโดย นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางแห่งประเทศไทย เข้าพบเพื่อสรุปปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะ เร่งขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการต่างๆ ในการแก้ไขปัญหายางพารา รวมทั้งจะรวมกันทำงานกับทางสภาการยางฯ เครือข่ายยางทั้งระบบ และเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อปฏิรูปยางพาราทั้งระบบอย่างครบวงจร ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
ทั้ง นี้การเข้าพบครั้งนี้สภาการยางแห่งประเทศไทย และเครือข่ายยางทั้งระบบ ได้ขอให้เร่งขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ มติ ครม. และผลจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2557 และ 16 ตุลาคม 2557 อาทิ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย เพื่อประกอบอาชีพเสริมอีก ครัวเรือนละ 100,000 บาท เป้าหมาย 100,000 ครัวเรือน โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยางโดยช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ รวมทั้งให้กระทรวงการคลังโดย ธกส. สำรองจ่ายเงินให้ อสย. เพื่อใช้เป็นมูลภัณฑ์กันชน ในการซื้อยางเป็นเงิน 6,000 ล้านบาท ระยะเวลา 18 เดือน
ทั้ง นี้เห็นว่า หลายมาตรการยังไม่ปฎิบัติอย่างจริงจังและยังติดขัดระเบียบ และล่าช้า จึงทำให้ราคายางไม่ดีขึ้นตามที่ต้องการ จึงขอให้ช่วยเร่งให้ทุกมาตรการเดินไปตามกลไกที่รัฐได้วางไว้ให้เร็วที่สุด

นอก จากนี้ ยังได้นำปัญหาที่ให้รัฐเร่งดำเนินการแก้ไข ได้แก่ 1.เรื่อง พรบ.การยางแห่งประเทศไทย ที่ผ่าน ครม. ไปแล้ว ปัจจุบันอยู่ที่ สนช. ซึ่งจะต้องแต่งตั้งกรรมาธิการ เพื่อแปรญัติ จึงขอเสนอให้ท่านได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการ เพื่อให้ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ได้มีโอกาสเข้าไปแสดงข้อคิดเห็นในพ.ร.บ. ฉบับนี้ 2.การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการสินค้าเกษตรยางพารา ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้เริ่มจัดตั้งแล้วหลายจังหวัด แต่เพื่อให้มีการติดตามอย่างใกล้ชิดและให้ได้ผลจึงขอเสนอให้มีวอร์รูมยาง เพิ่มจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในพื้นที่ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก รวมอีก 4 แห่ง และกำชับให้ติดตามรายงานผลเป็นระยะ

3.รัฐบาล ควรสนับสนุนการจัดตั้งตลาดกลางยางของภาคเอกชน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง จัดตลาดกลางภาคตะวันออก ขึ้นที่จังหวัดระยอง ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 แต่ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ อาทิ เงินทุนหมุนเวียน การประกาศราคากลางยางของประเทศไทย 4.ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับเป็นเจ้าภาพ เชิญองค์กรที่เกี่ยวกับยาง เข้าร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหาแก้ปัญหายางไปสู่ทิศทางเดียวกัน

5.พัฒนา ตลาดซื้อขายยางจริงระหว่างเกษตรกรและผู้ใช้ยาง ซึ่งควรรีบดำเนินการเพื่อให้เกิดขึ้นและสนับสนุนให้เข้มแข็ง เพื่อการแก้ไขปัญหาจากการซื้อขายตลาดล่วงหน้าที่เป็นตลาดซื้อขายยาง เทียม 6.พัฒนาอุตสาหกรรมยาง (ระดับเกษตรกร) เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่า และเพิ่มการใช้ยางภายในให้มากขึ้น 7.สนับสนุนและเป็นเจ้าภาพให้มีการจัดตั้ง สภาการยาง อาเซียน ซึ่งเลือกมาจากตัวแทนเกษตรกรแต่ละประเทศโดยตรง 8 ประเทศเข้าร่วมประชุมช่วยกันเพื่อผลักดันรัฐบาลของตนเอง เมื่อราคายางตกต่ำเกษตรกรเดือดร้อนจึงจะตรงเป้าหมาย และ 8.ให้คณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร ของสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) นำเสนอกรอบแนวทางการปฏิรูปการเกษตร ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป และการตลาดมาเพื่อให้พิจารณา




สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ