ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 838 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82958
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  30  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2558

ปัจจัย
   


วิเคราะห์


1.สภาพภูมิอากาศ
   


- ภาคใต้ยังคงมีฝนตกกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา กระบี่ ตรัง และสตูล ซึ่งเป็นอุปสรรค์ต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีอากาศหนาวเย็นลงและมีหมอกหนาในตอนเช้า


2.การใช้ยาง
   


- จากรายงานในหัวข้อ โอกาสและการคาดการณ์ตลาดยางล้อของมาเลเซีย ปี 2563 ระบุว่าในปี 2557 ตลาดยางล้อทดแทนในมาเลเซีย มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ร้อยละ 73.0 และตลาด-คาดการณ์แนวโน้มนี้จะเติบโตอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2563


3. สต๊อกยาง
   


- สต๊อกยางจีน ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 ลดลง 39,286 ตัน หรือลดลงร้อยละ 17.02 แตะระดับ 191,473 ตัน จากระดับ 230,759 ตัน ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558


- สต๊อกยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 มีจำนวน 6,454 ตัน ลดลง 445 ตัน หรือลดลงร้อยละ 6.45 ตัน จากระดับ 6,899 ตัน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558


4. เศรษฐกิจโลก
   


- สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) เปิดเผยว่า ผลกำไรของบริษัทอุตสาหกรรมรายใหญ่ของจีนในเดือนตุลาคม ลดลงร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่ลดลงเพียงร้อยละ 0.1 ในเดือนกันยายน ส่วนในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทอุตสาหกรรมของจีนมีผลกำไรลดลงร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบรายปี หลังจากลดลงร้อยละ 1.7 ในช่วง 9 เดือนแรก


- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของอังกฤษขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาส 3 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากการประเมินเดือนที่แล้ว แต่ต่ำกว่าระดับร้อยละ 0.7 ในไตรมาส 2 เนื่องจากการค้าที่อ่อนแอ อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา


- รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า การใช้จ่ายในภาคครัวเรือนของชาวญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 2.4 ในเดือนตุลาคม เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 2 ถึงแม้ว่าอัตราว่างงานแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ทศวรรษ


- ธนาคารกลางจีน ประกาศอัดฉีดเม็ดเงินมูลค่า 1 แสนล้านหยวน ให้แก่สถาบันการเงิน 11 แห่ง ผ่านโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF) เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา


- ผลการสำรวจ โดยบริษัท GFK ระบุว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเยอรมนี ในเดือนธันวาคม มีแนวโน้มปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยคาดว่าจะลดลงแตะ 9.3 เทียบกับ 9.4 ในเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตผู้อพยพ ภาวะเศรษฐกิจและการว่างงาน


- ผลสำรวจนักวิเคราะห์ ระบุว่า เศรษฐกิจอินเดียมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 7.4 ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับในปีที่แล้ว โดยได้แรงหนุนจากภาคการผลิต และภาคบริการที่มีการขยายตัวมากขึ้น ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าการขยายตัวในไตรมาส 2 ที่ระดับร้อยละ 7.0


- กระทรวงเศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เปิดเผย ในรายงานเบื้องต้นวันนี้ว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนตุลาคมปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีการขนส่งในภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้นร้อยละ 2.1 แตะที่ 98.8 และดัชนีสต๊อกสินค้าคงคลังภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลงร้อยละ 1.9 แตะที่ 111.4


5. อัตราแลกเปลี่ยน
   


- เงินบาทอยู่ที่ 35.88 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ  อ่อนค่า 0.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 122.77 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ  อ่อนค่า 0.15 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


6. ราคาน้ำมัน
   


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนมกราคม ปิดตลาดที่ 41.71 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.33 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีรายงานว่า ผลกำไรของบริษัทอุตสาหกรรมรายใหญ่ของจีนลดลงอย่างหนักในเดือนตุลาคม ซึ่งข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้เกิดความกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจ จะทำให้อุปสงค์พลังงานซบเซาลงด้วย นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานพลังงานที่สูงเกินไป


- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนมกราคม ลดลง 0.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 44.86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล


7. การเก็งกำไร
   


- TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม 2558 อยู่ที่ 156.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2559 อยู่ที่ 161.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 123.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


8. ข่าว
   


- กระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า อัตราว่างงานเดือนตุลาคม ปรับตัวลงสู่ระดับ ร้อยละ 3.1 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 20 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2538


- ทางการฝรั่งเศส เปิดเผยว่า จำนวนคนว่างงานในฝรั่งเศส เดือนตุลาคม เพิ่มขึ้น 42,000 ราย จากเดือนกันยายน แตะ 3,589,800 ราย ซึ่งปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.2 เทียบรายเดือน และร้อยละ 3.7 เทียบรายปี และทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์หลังจากที่ปรับตัวลงเมื่อเดือนกันยายน


9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
   


- ราคายางทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะแหล่งข่าวรายงานว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ขาดแคลนวัตถุดิบ จึงเร่งซื้อ เนื่องจากภาคใต้ฝนตกหนักต่อเนื่อง ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากภาคใต้ยังมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มขาดแคลนวัตถุดิบจึงเร่งซื้อ ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง และเศรษฐกิจจีนยังอยู่ในภาวะชะลอตัวทำให้อุปสงค์ยางในภาพรวมยังคงซบเซา




ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา