ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 630 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82785
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  16  ธันวาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีฝนบางแห่งและอากาศหนาวเย็นลง 4 - 6 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้มีฝนเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมสภาพอากาศทางภาคใต้ฝนตกน้อยลง ทำให้ปริมาณผลผลิตยางออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น

2. การใช้ยาง


- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมาเลเซียเปิดเผยว่า มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมยางมาเลเซียช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงกันยายนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.3 หรือคิดเป็นมูลค่า 2.42 หมื่นล้านริงกิต ขณะที่ปีก่อนมีมูลค่า 2.32 หมื่นล้านริงกิต ส่วนมูลค่าการส่งออกยางธรรมชาติอย่างเดียวอยู่ที่ 0.31 หมื่นล้านริงกิต

3. เศรษฐกิจโลก


- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและนักวิเคราะห์ในเยอรมันที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นแตะ 16.1 ในเดือนธันวาคม จาก 10.4 จุดในเดือนพฤศจิกายน และ 1.9 ในเดือนตุลาคม

- กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมอินเดียเปิดเผว่า เดือนพฤศจิกายนการส่งออกของอินเดียลดลงร้อยละ 24.43 เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 2.001 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยเป็นการปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน จากเดือนตุลาคมที่ลดลงร้อยละ 17.5 นอกจากนี้การนำเข้าลดลงร้อยละ 30.26 ในเดือนพฤศจิกายน

- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัทญี่ปุ่นคาดการณ์ว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจะขยายตัวร้อยละ 1.0 ในปีหน้า ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนกันยายนว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.2

- สถาบันวิจัย Gfk เปิดเผยผลการศึกษาเกี่ยวกับกำลังซื้อของผู้บริโภคเยอรมันในปี 2559 โดยระบุว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคคาดว่าจะปรับตัวขึ้นร้อยละ 2.0 ต่อคนในปีหน้า

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤศจิกายนทรงตัวเมื่อเทียบเป็นรายเดือน โดยถูกกดดันจากราคาน้ำมันที่ลดลง แต่เมื่อเทียบเป็นรายปีดัชนี CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ซึ่งเป็นการเพิ่มมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.97 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.11 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 121.68 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.64 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมกราคม 2559
ปิดตลาดที่ 37.35 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.04 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลงอีก

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมกราคม 2559 ปิดที่ 38.45 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.53 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศประกาศปรับลดคาดการณ์ราคาเฉลี่ยของน้ำมันดิบเบรนท์ปีหน้าอยู่ที่ 43 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากเดิมที่ 53 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล นอกจากนี้ยังปรับลดคาดการณ์ราคาเฉลี่ยของน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) สู่ระดับ 40 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 153.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 อยู่ที่ 161.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.4 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 124.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปรายงานว่า ตัวเลขจ้างงานยูโรโซนไตรมาส 3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 บ่งชี้ถึงภาวะฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ทั้งนี้มีการจ้างงานในยูโรโซนจำนวน 151.5 ล้านคน ในไตรมาส 3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี

- สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติสหรัฐฯ (NAHB) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านปรับตัวลง 1 จุด สู่ระดับ 61.0 ในเดือนธันวาคม แต่ยังใกล้ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ ขณะที่ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศทางภาคใต้ฝนตกน้อยลง ทั้งนี้แหล่งข่าวรายงานว่าราคายางหลังปีใหม่ไม่น่าดีขึ้น เพราะราคาน้ำมันมีทิศทางปรับตัวลงอีก

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยลบจากปริมาณผลผลิตยางเริ่มออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น หลังจากภาคใต้มีฝนลดลง และสต๊อคยางจีนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 220,316 ตัน (14 ธันวาคม 2558) จากสต๊อคเดิมที่ 201,557 ตัน (7 ธันวาคม 2558) ประกอบกับนักลงทุนชะลอการซื้อเพื่อรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในการประชุมวันที่ 15 - 16 ธันวาคม 2558



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 16, 2015, 11:33:37 AM โดย Rakayang.Com »