ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 690 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82791
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  25  ธันวาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1.สภาพภูมิอากาศ


- ภาคใต้มีฝนกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณภาคใต้ตอนบน  อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมสภาพอากาศเริ่มดีขึ้น ฝนน้อยลง ทำให้กรีดยางได้เพิ่มขึ้น ส่วนภาคอื่น ๆ อุณหภูมิลดลง 2-4 องศา

2.การใช้ยาง


- The Economic Times รายงานว่า ตัวเลขสถิติการนำเข้ายางธรรมชาติในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน (เมษายน ? ตุลาคม) พบว่า อินเดียนำเข้ายางธรรมชาติลดลง ร้อยละ 9.0 มีปริมาณการนำเข้า 2.88 แสนตัน ลดลงจาก 3.16 แสนตันในปีที่ผ่านมา โดยในปีงบประมาณ 2557-2558 มีการนำเข้าแตะระดับ 4.15 แสนตัน

3. เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงสื่อสารและกิจการภายในประเทศของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤศจิกายน ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.1 จากปีก่อนหน้า ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน

- ธนาคารกลางจีน ระบุว่า ผลสำรวจพบว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจของผู้ประกอบการและนายธนาคารของจีนลดลง ร้อยละ 4.5 ในไตรมาส 4 สู่ระดับ ร้อยละ 46.0 เมื่อเทียบรายไตรมาสและผลสำรวจยังระบุว่าคำสั่งส่งออก ลดลงร้อยละ 2.6 สู่ระดับร้อยละ 43.7

- ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า BOJ จะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ญี่ปุ่นหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดที่เรื้อรังมาเป็นเวลานานหลายปี และจะทำทุกทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2.0

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 36.08 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.04  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 120.20 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.60  เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ปิดตลาดที่ 38.10 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับข้อมูลที่บ่งชี้ว่าอุปทานน้ำมันในสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง ซึ่งรวมถึงสต๊อกน้ำมันและปริมาณการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว  นอกจากนี้การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐยังช่วยหนุนการซื้อขายน้ำมันดิบอย่างคึกคักด้วย

- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้น 0.53 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 38.10 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันในตะกร้าน้ำมันดิบของโอเปกจะแตะระดับ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2563 และ 95 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2573

- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) คาดการณ์ว่าอุปสงค์สำหรับน้ำมันดิบของโอเปกในปี 2563 จะต่ำกว่าปี 2559 ขณะที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปกยังคงเดินหน้าการผลิตแม้ราคาน้ำมันยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง  นอกจากนี้ยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การผลิตน้ำมันจากชั้นหินดินดานของประเทศนอกกลุ่มโอเปก สู่ระดับ 5.19 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2563 เพิ่มขึ้นจากระดับ 4.50 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในรายงานปีที่แล้ว

6. การเก็งกำไร


- TOCOM ส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 155.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 อยู่ที่ 163.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.4 เยนต่อกิโลกรัม

- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 123.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง

7. ข่าว


- สำนักงานกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ราคาบ้านในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือนตุลาคม จากเดือนก่อนหน้า

- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้ว ลดลง 5,000 ราย สู่ระดับ 267,000 ราย และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 270,000 ราย




- ทางการญี่ปุ่น เปิดเผยว่า อัตราว่างงานของญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 3.3 ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า และเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน หลังจากทำสถิติต่ำสุดในรอบ 20 ปี ที่ร้อยละ 3.1 ในเดือนตุลาคม

8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางมีแนวโน้มน่าจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย เพราะตลาดต่างประเทศซบเซา ในช่วงฤดูเทศกาลคริสมาสต์ ขณะที่ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยลบมาจากการแข็งค่าของเงินเยนและนักลงทุนชะลอการซื้อ เนื่องจากอยู่ในช่วงวันหยุดคริสต์มาส และใกล้หยุดยาวในเทศกาลปีใหม่  อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและเงินบาทอยู่ในระดับอ่อนค่ายังเป็นปัจจัยสนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา