ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557  (อ่าน 875 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82789
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  10  กันยายน  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1.   สภาพภูมิอากาศ
 
- ประเทศไทยตอนบนมีฝนกระจายร้อยละ   30-40 ของพื้นที่ ขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทย   ทำให้ภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80   ของพื้นที่และตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง   และสตูล ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2.   การใช้ยาง
 
- ประธานคณะกรรมการสถาบันยานยนต์   เปิดเผยว่าภาพรวมสภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ เดือน มกราคม ? กรกฎาคม 2557   เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 มีปริมาณการผลิตรถยนต์รวม 1,103,444   คัน ลดลงร้อยละ 29.0 มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศรวม 510,438 คัน   ลดลงร้อยละ 39.0 และในไตรมาสที่เหลือของปีนี้คาดว่าจะผลิตได้ 900,000 คัน ซึ่งทำให้ยอดการผลิตทั้งปีอยู่ที่ 2.1 ล้านคัน ลดลงร้อยละ 14.0 จากปี 2556 ซึ่งผลิตได้ 2.4 ล้านคัน
 
3.   สต๊อคยางจีน
 
- สต๊อคยางจีน วันที่ 5 กันยายน   2557 มีจำนวน 166,382 ตัน เพิ่มขึ้น 2,622 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จาก   163,730 ตัน (29 สิงหาคม 2557)
 
4.เศรษฐกิจโลก
 
- นายกรัฐมนตรีของจีน กล่าวว่า จีนจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินขยายตัวอย่างระมัดระวังต่อไป รวมถึงมาตรการควบคุมให้ได้ตามเป้า โดยจีนได้หันไปพึ่งทางการปฏิรูปแทนการใช้มาตรการกระตุ้นในปีที่แล้วเพื่อ กระตุ้นเศรษฐกิจ
- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า   ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานในเดือนกรกฎาคม ซึ่งปรับค่าตามฤดูกาลแล้วนั้น   เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากเดือนก่อนหน้า
- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ   เปิดเผยว่า ผลผลิตการผลิตปรับตัวขึ้น ร้อยละ 0.3 ในเดือนกรกฎาคม   เทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากปีที่แล้ว  ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
- สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติของสหรัฐฯ   (NFIB) รายงานว่าความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดเล็กปรับตัวเพิ่มขึ้น   10.4 จุด สู่ระดับ 96.1 ในเดือนสิงหาคม จากระดับ 95.7 ในเดือนกรกฎาคม
- นายกรัฐมนตรีจีน กล่าวว่า   เศรษฐกิจจีนกำลังขยายตัวภายในกรอบที่สมเหตุสมผล โดยกล่าวว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังเดินหน้าตามแผนด้วยอัตราขยายตัวที่ร้อยละ 7.4 การจ้างงานที่ดีขึ้นและอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2.3 ช่วงครึ่งปีแรก แม้เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจบางตัวมีความผันผวนก็ตาม
- บริษัทเงินทุนระหว่างประเทศของจีน คาดว่า ยอดปล่อยเงินกู้ใหม่ในรูปสกุลเงินหยวนจะปรับตัวขึ้นแตะระดับ   6-7 แสนล้านหยวนในเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นจากระดับ 3,852 แสนล้านหยวนในเดือนกรกฎาคม
- สำนักงานศุลกากรฝรั่งเศส   เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าฝรั่งเศสทรงตัวในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากทั้งการส่งออกและนำเข้า ต่างปรับตัวลง โดยยอดขาดดุลการค้าของฝรั่งเศสอยู่ที่   5.5 พันล้านยูโร ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกลดลงร้อยละ 1.4 ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 1.3
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)   เปิดเผยว่าสินเชื่อผู้บริโภคของสหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7   หลังจากขยายตัวร้อยละ 7.1 ในเดือนมิถุนายน
 
5. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.14   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 และเงินเยนอยู่ที่ 106.23 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.26 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น แสดงความกังวลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงของค่าเงินหลังจากดอลลาร์ สหรัฐฯ   พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี เมื่อเทียบเงินเยน โดยกล่าวว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่พุ่งสูงขึ้นหมายความว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะร่วงลงอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงอยากให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวในระดับกลาง ๆ
 
6.   ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน   ตุลาคม ปิดตลาดที่ 92.75 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.09 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ จะปรับตัวลง ซึ่งบ่งชี้ว่าความต้องการพลังงานของสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนตุลาคม ลดลง 1.04 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล   ปิดที่ 99.16 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
7.   การเก็งกำไร
 
- ราคา TOCOM    ส่งมอบเดือน ตุลาคม 2557 เปิดตลาดที่ 177.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง3.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือน กุมภาพันธ์ 2558 เปิดตลาดที่ 188.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.2 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 166.0   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 4.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
8. ข่าว
 
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครโดยสถานประกอบการในสหรัฐฯ ขยับลงเล็กน้อย แตะ 4.67   ล้านตำแหน่งในเดือน กรกฎาคม จาก 4.68 ล้านในเดือนมิถุนายน  ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2544   หรือในรอบ 13 ปี  เนื่องจากนายจ้างยังต้องการแรงงานเพื่อรอบรับอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะ ที่เศรษฐกิจปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง
 
9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
 
- ราคายางปรับลดลงอีก   โดยผู้ประกอบการกล่าวว่า ราคาปรับลดลงทุกวันส่งผลให้หลายรายเริ่มหมดหวัง โดยเฉพาะรายย่อยต้องหยุดกิจการชั่วคราวเพื่อรอดูสถานการณ์ เพราะซื้อมาก็ขาดทุนทุกวัน และขายออกยากไม่มีผู้ซื้อ
 
 
แนวโน้ม  ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียว เพราะได้รับแรงกดดันจากกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังจากมีข้อมูลบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกทั้งความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ยางอ่อนแอลง หลังจากนายกรัฐมนตรีจีนออกมากล่าวว่าจีนยังคงดำเนินนโยบายการเงินอย่างระมัด ระวัง และยอดสั่งซื้อเครื่องจักรญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้

ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]