กนอ. จ่อเซ็น 'รับเบอร์ แวลเล่ย์'
กนอ.จ่อเซ็น"รับเบอร์ แวลเล่ย์" หวังช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมยางครบวงจร
?กนอ.? เตรียมลงนามความร่วมมือ "รับเบอร์ แวลเล่ย์ กรุ๊ป " พัฒนาเครือข่ายอุตสาหกรรมยางครบวงจร หวังดึงลงทุนจีนเข้านิคมอุตสาหกรรมเมืองยาง จ.สงขลา
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่ากนอ.เตรียมที่จะร่วมเดินทางไป กับคณะของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางอรรชกา ศรีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ระหว่างวันที่ 28 - 30 พ.ย. 2557 ณ เมืองชิงเต่า มณฑลชานตง สาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อลงนามบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่าง กนอ. และบริษัท รับเบอร์ แวลเล่ย์ กรุ๊ป จำกัด (Rubber Valley) เพื่อร่วมพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในอุตสาหกรรมยางร่วมกันในการรองรับการ เติบโตของอุตสาหกรรมยางที่คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) ในปี 2558 นี้
?การ ลงนามเอ็มโอยูดังกล่าวมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ซึ่งทางรับเบอร์ แวลเล่ย์ พัฒนานิคมฯยางแบบครบวงจรในเมืองชิงเต่า มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิจัยและพัฒนายางแปรรูปต่างๆ อย่างมาก ขณะเดียวกันยังมีการลงทุนที่เป็นคลัสเตอร์ต่อเนื่องทำให้เกิดความเข้มแข็ง ไทยเองก็มีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมยางที่จะรองรับการลงทุนเพื่อยกระดับราคา ยางของไทย ซึ่งก็หวังว่าจะเกิดการร่วมมือทุกๆ ด้านรวมถึงการลงทุนในไทยเพราะจีนถือเป็นตลาดส่งออกยางที่สำคัญ ขณะเดียวกันยังจะมีการร่วมมือจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอุตสาหกรรมยาง จัดกิจกรรมส่งเสริมการลงทุน? นายวีรพงศ์ กล่าว
โดย การไปศึกษาดูงานครั้งนี้ เป็นความต่อเนื่องหลังจากที่คณะนักลงทุนจีนในกลุ่มอุตสาหกรรมยางจาก มลฑลชานตง และเอกชนจาก 30 บริษัทได้เข้ามาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 23-25 พ.ย. 2557 เพื่อร่วมศึกษาลู่ทางและการจับคู่ธุรกิจ รวมทั้งมีการศึกษาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆของไทยที่มีศักยภาพ และเป็นการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและส่งเสริมความร่วมมือการลงทุนใน อุตสาหกรรมยางร่วมกัน
สำหรับ ความคืบหน้าในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเมืองยาง จังหวัดสงขลา ซึ่งอยู่ระหว่างพัฒนาพื้นที่ที่เหลือหรือเฟส 3 ประมาณ 755 ไร่จากพื้นที่ทั้งหมด 2,247 ไร่ ซึ่งจะออกแบบแล้วเสร็จเม.ย. 2558 เพื่อรองรับการเจริญเติบโตอุตสาหกรรมยางพารา มีการผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราในท้องตลาดให้สูงขึ้น คาดว่าจะก่อสร้างเดือน ตุลาคม 2558 จะเสร็จในปี 2560 กนอ.ซึ่ง จะมีความพร้อมในการรองรับ สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราอย่างครบวงจรทั้งต้นน้ำ-ปลายน้ำ และในอนาคตจะมีเป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่นิคมฯในรูปแบบดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก
ในส่วนของการวางแผนที่จะดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามา กนอ.พยายามที่จะเอื้อสิทธิประโยชน์ให้แก่นักลงทุน ซึ่งการเปิดให้นักลงทุนเข้ามา กนอ.เตรียม ที่จะพิจารณาในเรื่องของสิทธิประโยชน์ต่างๆทางภาษี และ ไม่ใช่ภาษี โดยในรูปแบบที่ไม่ใช่ภาษีจะดูแลในเรื่องของการสร้างระบบสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า คลังสินค้า ซึ่งจะต้องไม่ขัดต่อกฎระเบียบการอุดหนุนทางการค้าและเอื้อประโยชน์ ต่อการส่งเสริมการลงทุน และจะต้องประเมินศักยภาพของกลุ่มทุนที่จะเข้ามาด้วย เพราะนักลงทุนจีนเป็นกลุ่มทุนเป้าหมายสำคัญ
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ