ผู้เขียน หัวข้อ: "หม่อมอุ๋ย" ย้ำชัดลดปลูกยางพารา หนุนจัดโซนนิ่งข้าวไทย พร้อมเร่งสางกฎหมาย 100 ฉบับรับเออีซี (26/11/2557)  (อ่าน 887 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88303
    • ดูรายละเอียด
"หม่อมอุ๋ย" ย้ำชัดลดปลูกยางพารา หนุนจัดโซนนิ่งข้าวไทย พร้อมเร่งสางกฎหมาย 100 ฉบับรับเออีซี (26/11/2557)



หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องการขับเคลื่อนประเทศไทยที่หอประชุมสมเด็จย่า มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ในโอกาสปิดการประชุมหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 32 ว่า ในปัจจุบันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยที่น่าเป็นห่วงไม่ใช่เกิดจากภาคเอกชน โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการแข่งขันกันอย่างหนัก เพราะเอกชนมีกลุ่มทุนใหญ่ ๆ ไปลงทุนในต่างประเทศมากมายและถึงขั้นมีการจัดโรดโชว์ในต่างประเทศด้วยซ้ำ

แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ธุรกิจขนาดกลางและย่อม หรือเอสเอ็มอีที่มีกลุ่มทุนในประเทศมากกว่า นอกจากนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการเตรียมของภาครัฐในเรื่องกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งตนกำลังผลักดันให้มีการตั้งคณะกรรมการกฎหมายภาครัฐเพราะยังมีกฎหมายกว่า 100 ฉบับที่ค้างและจำเป็นต้องแก้ไขให้แล้วเสร็จในเดือน ธ.ค.2558 นี้ก่อนเข้าสู่เออีซี  เพราะถ้าไม่แก้ก็ไม่สามารถทำตามกฎของเออีซีได้

สำหรับการขับเคลื่อนประเทศไทยนับจากนี้ตนเห็นว่าขึ้นอยู่กับ2 ด้านคือ การปรับโครงสร้างใหม่ให้ดี และการเปิดพื้นที่โอกาสใหม่ ๆ โดยการปรับโครงสร้างใหม่ในด้านที่เป็นจุดอ่อนหรืออุปสรรคในการขับเคลื่อนหลายเรื่องได้แก่ ด้านสังคม การศึกษา หนี้สิน เพราะถ้าทั้ง 3 ด้านยังอยู่ประเทศไทยไม่มีความสุขแน่นอน เริ่มต้นจากด้านสังคมเกี่ยวกับความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งที่ผ่านมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือรัฐบาลได้ปรับและลดอำนาจของตำรวจลงไป เพราะตำรวจมีทั้งที่ดีและไม่ดี แต่ก็ทำได้เพียงแค่นั้น

ดังนั้นอนาคตจึงฝากไว้กับสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ส่วนด้านการศึกษาคงต้องใช้เวลาหลายปี เพราะต้องหาวิธีว่าทำอย่างไรจึงจะถอดการศึกษาออกจากการเมือง เช่น ประเทศนิวซีแลนด์ที่แยกไปเป็นองค์กรอิสระ

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร กล่าวถึงด้านหนี้สินว่า เกิดจากประชาชนมีรายได้น้อย มีสิ่งยั่วยวนใจ และแหล่งเงินกู้ที่เข้าถึงง่าย การแก้ไขคือการส่งเสริมวัฒนธรรมการออม ยอมรับว่าในอดีตโครงการกองทุนหมู่บ้านก็ช่วยเรื่องหนี้สินได้มาก โดยพบว่าประชาชนร้อยละ 70 สามารถใช้คืนเงินได้ครบถ้วน เพราะดอกเบี้ยต่ำ คงเหลือเพียง 30% ซึ่งโครงการนี้จะเป็นผลดีถ้ามีการสานต่อให้เหมาะสม

ดังนั้นรัฐบาลนี้จึงจะแก้ไขปัญหาหนี้สินด้วยการให้กู้รายย่อยในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 หรือปีละ 36% โดยปัจจุบันกำลังประสานกับองค์กรธุรกิจบางแห่งที่มีสาขาครบทั่วประเทศเพื่อเป็นธนาคารรายย่อยให้ประชาชน

สำหรับเรื่องยางพารานั้น จะไม่เน้นการแทรกแซงตลาด แต่จะเน้นเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรเป็นหลัก และได้เข้าไปหารือกับกลุ่มเกษตรกรทำให้ทราบว่าแท้ที่จริงเกษตรกรขอให้รัฐช่วยเหลือเรื่องเงินกู้รายละไม่เกิน100,000 บาทก็สามารถอยู่ได้แล้ว หมายความว่าถ้าใช้งบประมาณแค่ 100 ล้านบาทก็ทำให้ชาวสวนรายย่อยกว่า 100 รายอยู่ได้ ส่วนรายใหญ่ๆ ไม่น่าห่วงเพราะเอาตัวรอดได้อยู่แล้ว ดังนั้นจึงมีโครงการนำร่องแล้วหากประสบความสำเร็จก็จะขยายไปเรื่อยๆ และส่งเสริมการปลูกพืชชนิดอื่นในสวนยางพาราเดิมที่จำเป็นต้องตัดทิ้งไป  มาตรการทั้งหมดนี้จะทำให้ใน 4-5 ปีเกษตรกรที่ปลูกยางพาราก็จะมีรายได้มากขึ้น

เช่นเดียวกับเรื่องข้าว ที่ตนมีแนวคิดตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการจัดโซนนิ่ง เพื่อกำหนดว่าพื้นที่ใดควรปลูกข้าวชนิดใด โดยจะมีการส่งเสริมข้าวพันธุ์ดีให้กลับคืนมาสู่ผืนนาไทยอีกครั้งหลังจากประสบปัญหาชาวนาหันไปปลูกข้่าวอายุสั้นเพื่อหวังเงินโครงการจำนำข้าวตันละ15,000 บาทจนทำให้ข้าวพันธุ์ดีหายไปรวมทั้งจะจัดหาตลาดให้ด้วย

นอกจากนี้จะมีการส่งเสริมเกษตรทางเลือก ซึ่งไม่รีบแต่จะดำเนินการราวเดือน มี.ค.ปีหน้า เพราะเป็นโครงการที่ให้เปล่าโดยให้เกษตรอำเภอและตำบลเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนต่อไป






ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2014, 08:55:29 AM โดย Rakayang.Com »