ผู้เขียน หัวข้อ: แดนใต้เฮเว้นค่าธรรมเนียมรง.ชี้ลงทุนอุตฯแปรรูป 'ไม้ยาง' รุ่ง  (อ่าน 988 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88298
    • ดูรายละเอียด
แดนใต้เฮเว้นค่าธรรมเนียมรง.ชี้ลงทุนอุตฯแปรรูป 'ไม้ยาง' รุ่ง


นักธุรกิจ 3 จังหวัดชายแดนใต้ขานรับนโยบายยกเว้นค่าธรรมเนียม/ใบอนุญาตขยายโรงงาน มั่นใจช่วยดึงดูดการลงทุนใหม่ ชี้อุตสาหกรรมแปรรูป ยางน่าลงทุนมากที่สุด ทหารรับงบฯ 826 ล้าน สร้างถนนยางพารา

นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิดเผยว่า มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมทุกประเภทที่เรียกเก็บตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 ได้แก่ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตหรือ ใบอนุญาตขยายโรงงาน ใบแทนใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตที่เรียกเก็บ ในวันที่ออกใบอนุญาตหรือใบอนุญาตขยายโรงงาน ใบแทนใบอนุญาตหรือยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต แล้วแต่กรณี และ ค่าธรรมเนียมรายปีที่เรียกเก็บตามกำหนดเวลาที่ต้องชำระในระหว่างปี 2558-2562 แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ จ.นราธิวาส ปัตตานี และยะลา เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบธุรกิจในพื้นที่ 3 จังหวัด และเป็นการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มมากขึ้น

นายอภินันท์ ศรีสมานุวัตร์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลากล่าวว่า การยกเว้นค่าธรรมเนียมโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จะสร้างแรงจูงใจนักลงทุนเข้าไปลงทุนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หากมีการลงทุนเพิ่ม คนจะมีงานทำ และมีรายได้เพิ่ม จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาสถานการณ์ในชายแดนภาคใต้

ดร.ณพพงศ์ ธีระวร ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากที่ ครม.มีมติยกเว้นค่าธรรมเนียมทุกประเภทที่เรียกเก็บตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 จะจูงใจให้มีการลงทุนเกิดขึ้น เพราะเป็นการลดต้นทุนในการลงทุน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่น่าลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา เช่น ยางคอมพาวนด์ ถุงมือยาง ที่นอนยางพารา เป็นต้น

ด้าน พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้ากล่าวว่า รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ 826 ล้านบาท ก่อสร้างและปรับปรุงถนนที่ชำรุดในจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 37 เส้นทาง รวมระยะทาง 164.8 กิโลเมตร เป็นถนนแบบแอสฟัลติกคอนกรีตผสมยางพารา ซึ่งจากการวิจัยและทดสอบพบว่าทำให้ถนนมีความทนทานและยืดอายุการใช้งานมากขึ้น เป็นการส่งเสริม การใช้ยางพาราภายในประเทศ โดยจะใช้ยางพาราผสมในอัตราส่วนร้อยละ 5 หรือประมาณ 245-300 ตัน

สำหรับพื้นที่ดำเนินการก่อสร้างถนนยางพารา ได้แก่ อำเภอสะบ้าย้อย นาทวี เทพา จะนะ จังหวัดสงขลา พื้นที่อำเภอสุคิริน และแว้ง จังหวัดนราธิวาส พื้นที่อำเภอเมือง ยะหริ่ง สายบุรี ปะนาเระ ไม้แก่น แม่ลาน มายอ ยะรัง ทุ่งยางแดง กะพ้อ โคกโพธิ์ และหนองจิก จังหวัดปัตตานี

พื้นที่อำเภอเมือง กาบัง ยะหา รามัน บันนังสตา เบตง กรงปินัง และธารโต จังหวัดยะลา พื้นที่อำเภอเมือง รือเสาะ ยี่งอ ตากใบ สุไหงโก-ลก จะแนะ ศรีสาคร เจาะไอร้อง ระแงะ บาเจาะ และสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส



Souce: ประชาชาติธุรกิจ