ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 992 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82717
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันพุธที่  7  มกราคม  พ.ศ. 2558


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ภาคใต้มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณทางตอนล่างของภาค ขณะที่หลายพื้นที่สภาพอากาศเอื้อต่อการกรีดยาง ทำให้ผลผลิตวัตถุดิบออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น


2. การใช้ยาง


- โตโยต้ามอเตอร์ คอร์ป เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่จีน ปี 2557 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 จากปีก่อน แตะระดับ 1,302,400 คัน ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์


3. เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า คำสั่งซื้อใหม่สำหรับภาคการผลิตของสหรัฐฯ เดือนพฤศจิกายนลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของกิจกรรมภาคการผลิต และการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม โดยระบุว่าคำสั่งซื้อใหม่สำหรับสินค้าในภาคการผลิตลดลงร้อยละ 0.7 เช่นเดียวกับเดือนตุลาคมที่ลดลงร้อยละ 0.7


- สถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) ภาคบริการสหรัฐฯ มีการขยายตัวต่ำกว่าคาดในเดือนธันวาคม แตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน โดยระบุว่าดัชนีภาคบริการลดลงสู่ระดับ 56.2 จาก 59.3 ในเดือนพฤศจิกายน


- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ ระบุว่า ตัวเลขขั้นสุดท้ายของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของสหรัฐฯ เดือนธันวาคมอยู่ที่ 53.3 จาก 56.2 ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2557 หรือในรอบ 10 เดือน พร้อมระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและบริการยูโรโซนเดือนธันวาคมอยู่ที่ 51.4 ขยับขึ้นจาก 51.1 ในเดือนพฤศจิกายน แต่ลดลงจากสถิติเบื้องต้นดือนธันวาคมที่ 51.7


- ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนชะลอตัวลงสู่ร้อยละ 7.1 ในปีนี้ เมื่อเทียบเป็นรายปี และจีนอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 ในช่วงไตรมาสแรก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยรายงานดังกล่าวระบุว่าเศรษฐกิจจีนปี 2558 จะขยายตัวร้อยละ 7.1 ในไตรมาส 1 และร้อยละ 7.2 ในไตรมาส 2 และ 3 ขณะที่ขยายตัวร้อยละ 7.0 ในไตรมาส 4


- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ออกแถลงการณ์ว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคมตัวเลขฐานเงินของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.7 จากปีก่อน อยู่ที่ 275.87 ล้านล้านเยน สูงกว่าเป้าหมายที่ BOJ กำหนดไว้ที่ 275 ล้านล้านเยน ภายใต้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในปัจจุบัน และเป็นระดับสูงสุดในประวัติการณ์เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน


- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นแตะ 53.4 จาก 53.0 ในเดือนพฤศจิกายน


- จากผลการสำรวจระบุว่า


ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเยอรมันเดือนธันวาคมอยู่ที่ 52.1 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนพฤศจิกายน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการฝรั่งเศสเดือนธันวาคมปรับตัวขึ้นแตะ 50.6 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน
ดัชนีภาคบริการอิตาลีเดือนธันวาคมปรับตัวลดลงแตะ 49.4 จาก 51.8 ในเดือนพฤศจิกายน
4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.86 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.14 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 118.95 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.68 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ ปิดตลาดที่ 47.93 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 2.11 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ จะยังคงปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งข่าวอิรักวางแผนเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบในเดือนนี้


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ ปิดที่ 51.10 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 2.01 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


- โฆษกกระทรวงพลังงานอิรักเปิดเผยว่า อิรักวางแผนที่จะเพิ่มปริมาณการส่งออกน้ำมันเดือนมกราคมเป็น 3.3 ล้านบาร์เรล หลังจากที่เดือนธันวาคมสามารถส่งออกน้ำมันได้ถึง 2.94 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1980


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 200.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 210.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.9 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 168.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมของสเปน เปิดเผยว่า จำนวนคนว่างงานระหว่างเดือนธันวาคมลดลง 253,627 ราย อยู่ที่ 4,447,711 ราย


- นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเรียกร้องให้ผู้นำภาคธุรกิจปรับขึ้นค่าจ้างในปีนี้ เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดที่ดำเนินมานานกว่า 1 ทศวรรษ


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะปริมาณผลผลิตมีน้อย ขณะที่ผู้ประกอบการต้องเร่งซื้อแข่งกับภาครัฐ เพื่อเก็บสำรองไว้ส่งมอบตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประกอบกับอีกประมาณ 1 เดือน ต้นยางก็จะเริ่มให้ผลผลิตลดลง เพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากผลผลิตยางออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย และได้รับการสนับสนุนราคายางจากภาครัฐ ขณะที่ผู้ประกอบการหลายรายมีความต้องการซื้อเพื่อส่งมอบตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม ราคายางยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรองจำกัด เพราะนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของสหรัฐฯ จีน และยูโรโซน










ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา