ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศและในประเทศ 12/07/56  (อ่าน 1795 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82849
    • ดูรายละเอียด


สรุปข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศและในประเทศ 12/07/56

สรุปข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
    เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (FED) กล่าวว่า นโยบายการเงินผ่อน
คลายอย่างมากนั้นยังจำเป็นสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐ เนื่องจากอัตราว่างงานยังอยู่ในระดับสูง อัตรา
เงินเฟ้อยังต่ำกว่าเป้าหมาย และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็อ่อนแรงลงเนื่องจากรัฐบาลกลางขึ้น
???าษีและลดงบรายจ่ายของรัฐลง
   ก.แรงงานสหรัฐ เปิดเผยว่า ราคาสินค้านำเข้ามายังสหรัฐในเดือน มิ.ย.ลดลง 0.2%
จากเดือนก่อนหน้า ลดลงมา 4 เดือนต่อเนื่อง หลังจากที่ลดลง 0.7% ในเดือน พ.ค. แต่ถ้าเทียบ
กับเดือน มิ.ย.ปีก่อนก็เพิ่มขึ้น 0.2% ทั้งนี้ เป็นผลจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอในยุโรปและเอเชีย แต่
ราคาสินค้านำเข้าที่ลดลงอาจจะกระตุ้นการบริโ???คในสหรัฐกับทำให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้ออยู่ใน
ระดับต่ำ
   ก.แรงงานสหรัฐ รายงานว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless
Claims) ในสัปดาห์ก่อนเพิ่มขึ้น 16,000 รายไปอยู่ที่ 360,000 ราย เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 4
สัปดาห์ที่เป็น 351,750 ราย และยังทรงตัวอยู่ในบริเวณ 330,000-360,000 รายในช่วง 3 เดือน
ที่ผ่านมา แสดงว่าตลาดแรงงานสหรัฐยังไม่ฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง
   สำนักงานสถิติแห่งชาติสเปน (INE) รายงานว่า ยอดธุรกิจก่อตั้งใหม่ในสเปนเพิ่มขึ้น
10.1% ในเดือน พ.ค.เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกันเมื่อเทียบ
เป็นรายปีหลังจากที่เพิ่มขึ้น 30.5% ในเดือน เม.ย. โดย 22% ของธุรกิจที่ก่อตั้งใหม่ในเดือน พ.
ค.เป็นธุรกิจใน???าคการค้าและ 19.4% เป็นธุรกิจใน???าคก่อสร้าง
   ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงิน และได้ปรับเพิ่มการประเมิน
เศรษฐกิจเดือน ก.ค. ซึ่งเป็นการปรับเพิ่ม 7 เดือนติดต่อกัน โดยกล่าวว่า เศรษฐกิจกำลังเริ่มฟื้น
ตัวปานกลาง และความเชื่อมั่น???าคธุรกิจกับการใช้จ่ายของผู้บริโ???คกำลังฟื้นตัวขึ้น ทั้งนี้ BOJ ใช้
คำว่า 'ฟื้นตัว' เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีครึ่ง ซึ่งต่างจากการประชุมครั้งก่อนที่ใช้คำว่า
เศรษฐกิจ 'กระเตื้องขึ้น' เท่านั้น จึงเป็นการส่งสัญญาณการฟื้นตัวของญี่ปุ่น  อย่างไรก็ตาม BOJ
ได้ปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 56 ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือน มี.ค.ปีหน้าลง
เล็กน้อยว่าจะขยายตัว 2.8% จากเดิมที่คาดไว้เมื่อเดือน เม.ย.ว่าจะขยายตัว 2.9%
   ธนาคารกลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.5% เป็นเดือนที่ 2 และเพิ่มคาดการณ์
การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ขึ้นเป็น 2.8% จากเดิมที่คาดไว้ 2.6% และคาดว่าปีหน้าจะขยาย
ตัว 4% อันเป็นผลของการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการกระตุ้นการคลังในช่วงก่อนหน้า
โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อผู้บริโ???คจะอยู่ที่ 1.7% ในปีนี้และ 2.9% ในปีหน้า  อย่างไรก็ตาม แนว
โน้มในการยกเลิกมาตรการ QE ก่อนกำหนดของ FED กับเศรษฐกิจจีนที่กำลังชะลอตัว จะเป็น
ปัจจัยกดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจเกาหลีใต้
   ธนาคารกลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายข้ามคืนไว้ที่ 3% โดยระบุว่า นโยบาย
การเงินในปัจจุบันยังเหมาะสมต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศและแนวโน้มของอัตรา
เงินเฟ้อ
   ธนาคารกลางอินโดนีเซียเตรียมขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง 0.50% เป็น 6.5% และอัตรา
ดอกเบี้ยเงินฝากจาก 4.25% เป็น 4.75% เพื่อช่วยหนุนสกุลเงินรูเปียที่กำลังอ่อนแอและบรรเทา
แรงกดดันด้านเงินเฟ้อ โดยเห็นว่าราคาสินค้าและบริการต่างๆ จะพุ่งขึ้นสูงสุดในเดือน ก.ค. จาก
ปัจจัยตามฤดูกาล ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นประเทศแรกใน???ูมิ???าคที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ จากแรง
กดดันด้านเงินเฟ้อและการอ่อนค่าของสกุลเงิน

สรุปข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
    ก.พาณิชย์ จะหามาตรการกระตุ้นการบริโ???คในประเทศแทนพึ่งพาการส่งออก ด้วย
การเพิ่มความถี่ในการจัดมหกรรมธงฟ้าราคาประหยัดทั่วประเทศเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อรากหญ้า
รวมถึงเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณและการลงทุนโครงการใหญ่ๆ โดยระบุว่า กำลังซื้อที่ไม่ดีใน
ช่วงนี้น่าจะทำให้ราคาสินค้าไม่ปรับขึ้น และอาจทำให้ดัชนีราคาผู้บริโ???คทั้งปีขยายตัวต่ำกว่าเป้า
หมายที่ 2.8-3.4%
   ธปท. ระบุว่า ???าวะการใช้จ่ายในประเทศที่ชะลอตัวลงน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และ
เห็นว่ารัฐบาลไม่จำเป็นต้องออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นเพื่อทำให้คนก่อหนี้เพิ่ม
โดยคาดว่า การอุปโ???คบริโ???ค???ายในประเทศจะฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง
   SET Index ปิดที่ 1,447.04 จุด เพิ่มขึ้น 58.63 จุด หรือ +4.22% ด้วยมูลค่าซื้อ
ขาย 55,125 ล้านบาท โดยดัชนีปรับเพิ่มขึ้นตามตลาดหุ้นทั่วโลกหลังจาก เบน เบอร์นันเก้
ประธาน FED กล่าวว่า การใช้มาตรการผ่อนคลางทางการเงินในระดับสูงยังมีความจำเป็นต่อไป
ในอนาคต  ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นทุกแห่งใน???ูมิ???าคเอเชียยกเว้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมากกว่า 1% โดย
เฉพาะตลาดหุ้นไทยที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ซึ่งน่าจะเป็นแรงหนุนจากการรีบาวด์หลังจากที่ลดลง
มากกว่าที่อื่นใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา  ทั้งนี้ มีแรงซื้อเข้ามามากในหุ้นขนาดใหญ่ทุกกลุ่มโดย
เฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ส่วนหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์มีการปรับตัวขึ้นมามากหลังจากถูกแรง
เทขายต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์
   สรุปยอดสุทธิการซื้อขายของแต่ละกลุ่ม (ล้านบาท)
นักลงทุนสถาบัน +1,634.91
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ +3,047.56
นักลงทุนต่างชาติ +2,434.16
นักลงทุนทั่วไป -7,116.63
   ดร.สมจินต์ ศรไพศาล นายกสมาคม บลจ. คาดว่า อุตสาหกรรมกองทุนรวมปีนี้จะเติบ
โต 2 หลัก โดยในครึ่งปีแรกเติบโตแล้ว 6.3% ส่งผลให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมทั้ง
ระบบมาอยู่ที่ 2.8 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือน มิ.ย. โดยอุตสาหกรรมกองทุนในครึ่งปีหลังน่าจะเติบ
โตได้มากกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากจะมีเม็ดเงินจากกองทุนรวมหุ้น LTF และ RMF ช่วงปลายปี
และตราสารหนี้ระยะยาวที่อัตราผลตอบแทนพิ่มขึ้นจะดึงดูดเงินเข้ามาในกองทุนตราสารหนี้ระยะ
ยาวเพิ่มขึ้น
   อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงในทุกช่วงอายุ โดยเปลี่ยนแปลงระหว่าง -
0.04% ถึง 0.00% เป็นการลดลง 3 วันต่อเนื่อง และวันนี้จะมีการประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 14
วัน 30,000 ล้านบาท


ที่มา : Good Morning News บลจ.บัวหลวง            
            
 
 

เรียบเรียง โดย ประน้อม บุญร่วม


อีเมล์แสดงความคิดเห็น  commentnews@efinancethai.com

 
 
 


ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย     วันที่   12/07/13   เวลา   7:43:07